ปุ่ม Windows +E เปิด windows Explorer
ปุ่ม Windows +M ย่อขนาดหน้าต่างทั้งหมดลงมาเพื่อให้เห็น Desktop
ปุ่ม Windows +Shift+M ทำให้หน้าต่างที่ย่อกลับสู่สภาพเดิม
ปุ่ม Windows +D ย่อ/ยกเลิก ขนาดหน้าต่างทั้งหมดลงมาเพื่อให้เห็น Desktop
ปุ่ม Windows + F เปิด Search for files
ปุ่ม Windows + Ctrl+F เปิด Search for Computer
ปุ่ม Windows + F1 เปิด Help and Support Center
ปุ่ม Windows + R เปิดไดอะล็อคบ็อกซ์ RUN
ปุ่ม Windows + break เปิดไดอะล็อคบ็อกซ์ System Properties
ปุ่ม Windows + tab สลับไปยังปุ่มต่าง ๆ บน Taskbar
ปุ่ม Windows + U เปิด Utility Manager
ALT+Print Screen ใช้copy หน้าต่างที่เปิดล่าสุด ไปไว้ที่คลิปบอร์ด แล้วนำไปpaste ในที่ต่างๆได้ปุ่ม
Ctrl+C Copy ได้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น ข้อความ file ...
ปุ่ม Ctrl+V Paste ได้ทุกอย่าง
ปุ่ม Ctrl+X Cut ได้ทุกอย่าง
ปุ่ม Ctrl+Q ใช้ออกจากโปรแกรมใดๆ ก็ได้
ปุ่ม Alt+F ใช้เปิด file ในโปรแกรมต่างๆ
ปุ่ม Atl+TAB เลือกหน้าต่างอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้mouse
ปุ่ม Delete ใช้ลบสิ่งต่างๆ file ข้อความ
ปุ่ม Alt+Esc ใช้เลือกหน้าต่างที่เปิดไว้มากๆโดยวนไปรอบๆ
ปุ่ม Alt+F4 ปิดโปรแกรม / ปิด windows(shut down)
ปุ่ม shift + ลูกศร หรือ เมาส์ เป็นการเลือก(select) เพิ่มจากเดิม
ปุ่ม Ctrl + คลิ๊กเมาส์ เป็นการเลือก(select)file มากว่า1 โดยกดctrl ค้างไว้
ปุ่ม shift + shut down ( alt+F4) restart windows(ให้กดshiftค้างไว้)
ปุ่ม shift ค้างไว้ขณะใส่แผ่น Cd ยกเลิก autorun.
*ที่มา guru.sanook.com/.../คีย์ลัดคีย์ด่วน_(Shortcut_Key)_ของ_Windows/
วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552
BOOT
Boot
ก็คือ การเตรียมความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์ มีการตรวจสอบสถานะของเครื่อง
การบอกรายเครื่อง การบอกรายละเอียดต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ บอกว่ามี RAM เท่าไร BUS อะไรบ้าง CPU ของเรามีความเร็วเท่าไรเป็นต้นพูดง่าย ๆ ว่าเป็นการเตรียมความพร้อมนั่นเอง โดยการบูตเครื่องจะมีโปรแกรม BIOS ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาไปหลายversion
แล้ว เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพมาก
ยิ่งขึ้น
Boot record
โปรแกรมสั้นๆซึง่สามารถเก็บอยู่บนฮาร์ดดิสก์ที่ต้องถูกอ่านก่อนเมื่อเครื่องเริ่มทำงาน เมื่อเปิดสวิตซ์หรือบูตเครื่อง โปรแกรมนี้จะสั่งให้ไปอ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมและเข้ามาในหน่วยความจำขอ
เครื่องคอมพิวเตอร์อัชีกต่อหนึ่ง
Bootstrap loader
เป็นโปรแกรมสั้นๆที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำแบบรอม ทำหน้าที่เรียกโปรแกรมควบคุม
จากแผ่นจานแม่เหล็กมาเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก เพื่อที่จะใช้งานได้ทันทีในขณะที่เปิดสวิตซ์
ก็คือ การเตรียมความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์ มีการตรวจสอบสถานะของเครื่อง
การบอกรายเครื่อง การบอกรายละเอียดต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ บอกว่ามี RAM เท่าไร BUS อะไรบ้าง CPU ของเรามีความเร็วเท่าไรเป็นต้นพูดง่าย ๆ ว่าเป็นการเตรียมความพร้อมนั่นเอง โดยการบูตเครื่องจะมีโปรแกรม BIOS ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาไปหลายversion
แล้ว เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพมาก
ยิ่งขึ้น
Boot record
โปรแกรมสั้นๆซึง่สามารถเก็บอยู่บนฮาร์ดดิสก์ที่ต้องถูกอ่านก่อนเมื่อเครื่องเริ่มทำงาน เมื่อเปิดสวิตซ์หรือบูตเครื่อง โปรแกรมนี้จะสั่งให้ไปอ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมและเข้ามาในหน่วยความจำขอ
เครื่องคอมพิวเตอร์อัชีกต่อหนึ่ง
Bootstrap loader
เป็นโปรแกรมสั้นๆที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำแบบรอม ทำหน้าที่เรียกโปรแกรมควบคุม
จากแผ่นจานแม่เหล็กมาเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก เพื่อที่จะใช้งานได้ทันทีในขณะที่เปิดสวิตซ์
วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552
สเปกคอมพิวเตอร์+การเลือกซื้ออุปกรณ์
สเปกคอมพิวเตอร์
CORE2 DUO E6750
ASUS P5KR RAM KINGSTON DDR2-800 1Gx2
PCI-E MSI 8800GT oc
DVDRW LITE-ON
FLOPPLY DISK SUMSUNG
CASE DELUX
PSU ENERMAX 460w
HDD SEAGATE 320GB SATA-II 16MB
LCD 19 LG FLATRON L194WT
การเลือกซื้ออุปกรณ์
การเลือกซื้อซีพียู
การเลือกซีพียูมีขั้นตอนง่ายๆในการพิจารณาคือ “ประสิทธิภาพที่คุ้มค่าต่อการใช้งานของคุณ” กล่าวคือ การจะเลือกซีพียูนั้นให้มองที่การใช้งานประจำวันของคุณเป็นหลัก
ผู้ใช้มือใหม่ เน้นราคาประหยัด ในกลุ่มของผู้ที่เริ่มต้นใช้งานคอมพิวเตอร์และต้องการความประหยัด รวมถึงการใช้งานพื้นฐานทั่วไป ตั้งแต่ซอฟแวร์สำนักงานสเปรดซีต ดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเทอร์เน็ต ที่ไม่จำเป็นต้องใช้การประมวลผลซับซ้อน และส่วนใหญ่จะประกอบเป็นพีซีในราคาประมาณ 10,000-15,000 บาท โดยซีพียูในกลุ่มดังกล่าวนี้ มีหลายรุ่นด้วยกัน ได้แก่ Celeron D/ Celeron –L/Pentium 4 จากค่าย Intel และ Sempron64/Athlon64จากทาง AMD ด้วยสนนราคาตั้งแต่ 1,000-2,500 บาท แต่ในกรณีที่มีงบประมาณสูงขึ้น Pentium Dual Core Athlon 64X2ก็นับเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ามากทีเดียวในขณะนี้
การเลือกเมนบอร์ด
ปัจจุบันในตลาดมีเมนบอร์ดให้เลือกอยู่หลากรุ่นหลายยี่ห้อ แม้ในซีรีส์ที่เป็นชิปเซตเดียวกัน ยังถูกจำแนกออกเป็นรุ่นต่างๆมากมายโดยมีฟีเจอร์หลักที่ไม่ต่างกันมากนัก แต่ด้วยการออกแบบลูกเล่นต่างๆประกอบเข้าไป เช่นชุดระบายความร้อนคุณภาพของชุดคาปาซิเตอร์ดีไซน์ ไบออส และคุณภาพ จึงกลายเป็นจุดขายที่แต่ละค่ายนำมาเสนอ ดังนั้นการเลือกใช้ต้องพิจารณาจากรูปแบบ ฟังก์ชันการใช้งานรวมถึงคุณภาพและราคาที่เหมาะกับผู้ใช้เป็นหลัก โดยเฉพาะในเรื่องของซิปเซตที่มีอยู่มากมายให้เลือกใช้
การเลือก LCD Monitor
การเลือกใช้จอภาพต้องให้เหมาะสมกับงานและสุขภาพดวงตา ดังนั้นหลักสำคัญหรือปัจจัยที่จะต้องนำมาพิจารณาเลือกซื้อจอภาพให้เกิดความคุ้มค่าและเหมาะสมมีดังนี้
- ชนิดของจอภาพ
- ขนาดของจอภาพ
- ความละเอียดของการแสดงผล
- อัตราการรีเฟรช
- ระยะ Dot Pitch
- ความสว่างบนหน้าจอ
- อัตราส่วนของความคมชัดของภาพ
- ขอบเขตของมุมมองในการมองภาพ
การเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่สำคัญ ปัจจุบันความจุของฮาร์ดดิสก์มีความจุสูงขึ้น อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้น ควรจะเลือกซื้อที่คุณสมบัติต่างๆดังนี้
- ความจุข้อมูล
- ความเร็วรอบในการหมุน
- อินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์
- ขนาดของบัฟเฟอร์
- การรับประกัน
การเลือกซื้อตัวเครื่องหรือเคส
- เลือกเคสที่ภายในดูโปร่ง กว้าง ถ่ายเทอากาศได้ดี
- มีการออกแบบฝาเคสที่ดูแล้วสามารถเปิด/ปิด ได้ง่าย
- แท่นรองเมนบอร์ดภายในเคสควรจะถอดออกได้
- ช่องเสียบอุปกรณ์ต่างๆควรออกแบบมาดี
- ฝาเคสด้านหน้าอาจจะเปิด/ปิดได้
- มีพอร์ตต่างๆเพิ่มเติมมาให้ที่ด้านหน้าหรือด้านข้างของตัวเคส
- Power Supply ที่ติดตั้งมาด้วยควรมีกำลังไฟเพียงพอ
- ตัวเครื่องภายนอกอาจจะออกแบบให้มีที่จับเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย
- พยายามเลือกเคสที่ช้วัสดุที่ทำมาจากพลาสติก
การเลือกซื้อเพาเวอร์ซัพพลาย
ในอดีตเพาเวอร์ซัพพลาย มักเป็นสิ่งที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์มองข้ามอยู่เสมอ เนื่องจากคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการใช้พลังงานไฟมากมายเช่นในปัจจุบัน อีกทั้งเพาเวอร์ส่วนใหญ่ที่ติดตั้งมากับตัวเคส โดยเฉพาะกับคอมพ์สำเร็จรูป ก็สามารถรองรับได้เพียงพอ แต่ในวันนี้เฉพาะเมนบอร์ดและการ์ดจอด รุ่นกลางๆ ก็สามารถทำให้เพาเวอร์เดิมๆ สะดุดหรือเกิดอาการผิดปกติได้ง่ายๆ แม้ว่าเพาเวอร์ที่ใช้นั้นจะระบุกำลังไฟที่ 450Walt ก็ตาม ดังนั้นจึงต้องมาทำความเข้าใจกันใหม่กับการเลือกใช้เพาเวอร์ซัพพลายให้เหมาะสมและถูกวิธี เพื่อที่จะช่วยให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ราบรื่น รวมถึงมีเสถียรภาพอีกด้วย หลักพิจารณาในการเลือกซื้อหรือว่าได้เวลาเปลี่ยน PSU หรือยังนั้น มีหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น อาการเกิดบลูสกรีน (Blue-scree) การดับหรือรีสตาร์ตโดยไม่ทราบสาเหตุ รวมถึงการไม่สามารถเข้าระบบได้เลย ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งจ่ายไฟไม่พอหรือเริ่มมีการลัดวงจรนั่นเอง ปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่บอกถึงอันตรายอันอาจเกิดกับอุปกรณ์อื่นๆ ในคอมพ์ด้วยดังนั้นอย่าได้นิ่งนอนใจในการแก้ไขปัญหา ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยน PSU จะมีการเลือกอย่างไร
เลือกแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือสูง ผู้ผลิตที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่ ก็จะใช้วัสดุคุณภาพดีและมีความประณีต ส่งผลต่อความปลอดภัยและความทนทานในการใช้งานที่นานขึ้น ผู้ใช้อาจเลือกตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์หรือร้านค้าที่จำหน่าย นอกจากนี้อาจเข้าไปสอบถามหรือหาข้อมูลจากผู้ใช้เว็บไซต์ทดสอบ เว็บบอร์ดต่างๆอีกครั้งเพื่อความมั่นใจ
เลือกกำลังไฟที่เพียงพอต่อคอมพิวเตอร์ ดูจากฉลากด้านข้างตัวอุปกรณ์ซึ่ง PSU รุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะระบุมาอย่างชัดเจน ด้วยกำลังไฟที่จ่ายได้ต่ำสุด-สูงสุด รวมถึงไฟเลี้ยงและค่าต้านทานที่เหมาะสมโดยที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 350-500 วัตต์ แต่ถ้าเป็นกลุ่มเกมเมอร์ก็จะสูงขึ้นไปอีกด้วยคือ 500-750 วัตต์ ยิ่งถ้าเป็นเกมการ์ดแบบคู่ไม่ว่าจะเป็น SLI หรือ CrossFire ซึ่งการ์ดแต่ละตัวต้องใช้ไฟเลี้ยงเพิ่มเติมด้วยแล้ว อาจต้องก้าวไปถึง 700 วัตต์ เลยทีเดียว มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ต่อพ่วงภายในด้วยเช่นกัน หากสงสัยวาคอมพิวเตอร์ของตนที่ใช้อยู่หรือกำลังจะซื้อ ต้องใช้ PSU ขนาดไหน สามารถเข้าไปคำนวณการใช้พลังงานของเครื่อง เพื่อใช้ในการเลือกซื้อเพาเวอร์ซัพพลายได้ง่ายๆ
การเลือกซื้อกราฟิกการ์ด
อินเทอร์เฟช แน่นอนว่าก่อนซื้อก็คงต้องตรวจสอบดูก่อนว่าใช้เมนบอร์ดที่มีสล็อตแบบใด ปัจจุบันมีทั้งแบบ PCI-Express 16x ที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป และอีกแบบหนึ่งคือสล็อต AGP8x ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บนเมนบอร์ดรุ่นเก่าที่ไม่ใช่ Socket 775 และ 939/ AM2 ซึ่งผู้ใช้ควรต้องพิจารณาก่อนการเลือกซื้อด้วยนอกจากนี้ในเรื่องการเลือกให้สังเกตด้วยว่าการ์ดที่ซื้อมามีช่องต่อเพาเวอร์หรือไม่ เพราะการ์ดรุ่นใหม่หลายรุ่น มักต้องใช้ไฟเพิ่มจากปกติ ซึ่งอาจจะเป็น Molex-4-pins หรือ 6-pins
การระบายความร้อน ชุดระบายความร้อน ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับกราฟิกการ์ด ไม่ต่างไปจากฮีตซิงก์ของซีพียู เนื่องจาก GPU เอง ก็มีคาปาซิเตอร์จำนวนนับล้านไม่ต่างไปจากซีพียู ดังนั้นจึงเกิดความร้อนที่สูง การระบายความร้อนที่ดีจะช่วยให้การ์ดทำงานได้ยาวนานขึ้น โดยการระบายความร้อนของการ์ดจะมีให้เลือกทั้งแบบ ฮีตชิงก์พัดลมและฮีตไปป์ การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม หากอุณหภูมิในห้องสูง การเลือกฮีตซิงก์พัดลม ดูจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม เนื่องจากมีการระบายความร้อนจากตัวฮีตซิงก์ได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็จะเกิดเสียงรบกวนอยู่บ้างแต่ถ้าในห้องมีการปรับอุณหภูมิ การใช้ฮีตไปป์ก็จะช่วยลดการใช้พัดลมลง เสียงรบกวนก็น้อยลงเช่นกัน แต่ทั้งสองรูปแบบ ก็คงต้องอาศัยการจัดทิศทางลมภายในเคสที่ดีด้วย
Hyper Memory/ Turbo Cache สิ่งหนึ่งที่เราจะพบเห็นได้บ่อยๆ บนกราฟิกการ์ดราคาประหยัดก็คือ การมีหน่วยความจำเพียง 64MB หรือ 256MB เท่านั้น ซึ่งบางครั้งการใช้งานร่วมกับเกมหรือโปรแกรมสามมิติแทบเป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้นแล้วผู้ผลิต จึงได้ใส่เทคโนโลยีดังกล่าวมาให้ ด้วยฟีเจอร์ในการเพิ่มขนาดบัฟเฟอร์ให้มีมากขึ้น โดยการนำหน่วยความจำหลักหรือแรมมาใช้ร่วมได้ ซึ่งจะระบุฟีเจอร์และขนาดของแรมที่จะแชร์ได้ไว้ที่หน้ากล่องโดยของทาง ATI จะเรียกว่า Hyper Memory ส่วนทาง nVIDIA ใช้ชื่อว่า TurboCache นั่นเอง ทั้งสองรูปแบบนี้ จะทำหน้าที่คล้ายคลึงกัน และจะแชร์หน่วยความจำได้ตั้งแต่ 256MB/512MB ไปจนถึง 1GB ขึ้นอยู่กับการติดตั้งหน่วยความจำหลักในเครื่องไว้มากน้อยเพียงใด การ์ดในรูปแบบดังกล่าวนี้ จัดอยู่ในกลุ่มราคาประหยัด ที่ไม่ได้เน้นการเล่นเกมมากนัก ด้วยราคาที่ถูกมากๆ จึงทำให้ได้รับความสนใจอยู่มากทีเดียว
การเลือกซื้อออปติคอลไดรฟ์
การเลือกออปติคอลไดรฟ์ ในปัจจุบันตัดสินใจค่อนข้างง่ายทีเดียว เนื่องจากไดรฟ์แบบ DVD?RW นั้นราคาถูกมาก เริ่มต้นเพียง 1,000 บาท เท่านั้นสำหรับ Intemal ซึ่งราคาจะแพงกว่า DVD และ CD-RW อยู่เพียง 200-300 บาทเท่านั้น แต่สามารถเขียนและอ่านแผ่นได้ทั้ง DVD และCD ดังนั้นการลงทุนกับ DVD?RW จึงดูจะเป็นทางเลือกที่คุ้มค่า แต่จะเลือกอย่างไรดีในเมื่อมีหลายรุ่นหลากยี่ห้อให้เลือกใช้
DVD+R/ DVD-R/ DVD-RAM แตกต่างกันอย่างไรแน่นอนว่า DVD Writer เครื่องหนึ่ง ไม่ได้มีฟังก์ชันเพียง DVD-R หรือ RW เท่านั้น แต่ยังมีฟังก์ชันอื่นๆ มากมายมาอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็น DVD-R/+R, DVD?RW, Dual Layer หรือ Double side แล้วสิ่งเหล่านี้คืออะไร ใช้งานแบบไหน ลองมาดูกัน DVD-R : เป็นรูปแบบพื้นฐานที่ใช้กันอยู่ทั่วไป การทำงานง่ายๆคือ การเขียนข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว ไม่สามารถเขียนซ้ำได้DVD+R : มีความสามารถเหมือนกับ-R แต่มีความพิเศษที่สามารถเขียนข้อมูลเพิ่มเติมลงไปได้ แต่เขียนซ้ำและลบข้อมูลไม่ได้DVD RW : เป็นแบบที่ค่อนข้างได้รับความนิยม ด้วยจุดเด่นที่ รองรับการเขียนและข้อมูลใหม่ได้หลายครั้ง แต่เปลี่ยนข้อมูลทั้งแผ่น DVD-RAM : เป็นรูปแบบการเขียนข้อมูลแบบพิเศษ ด้วยการเขียนข้อมูลลงแผ่นได้เฉพาะส่วนและเลือกลบข้อมูลจากส่วนใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงทั้งแผ่นแบบ DVD-RW แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากแผ่นมีราคาสูงและหายากDVD Dual Layer : เดิมรูปแบบของแผ่นที่ใช้กันอยู่จะเป็นแบบ Single Layer คือ การเขียนข้อมูลแบบชั้นเดียว แต่สำหรับแผ่น Dual Layer จะมีการเคลือบสารเคมีสองชั้นจึงทำให้เขียนข้อมูลได้ 2 ระดับ เก็บข้อมูลได้มากกว่าปกติเท่าตัวหรือประมาณ 9GB นั้นเองDVD Double side : การเก็บข้อมูลจะคล้ายกับ Dual Layer ซึ่งได้ความจุที่ 9GB เช่นเดียวกัน เพียงแต่การเก็บข้อมูลจะเป็นแบบหน้าและหลัง ต้องมีการกลับแผ่นในการใช้งาน
การเลือกซื้อแรม (RAM) หรือหน่วยความจำหลัก
การเลือกซื้อแรมปัจจุบัน นอกจากจะต้องดูกันที่ความจุความเร็วแล้ว หลายคนยังมองไปที่สัปดาห์ที่ผลิต รวมถึงเม็ดแรมที่นำมาใช้อีกด้วย โดยเฉพาะกับบรรดาเซียนคอมพ์ทั้งหลาย ที่แทบจะเอากล้องส่งอพระมาส่องกันเลยทีเดียว แต่สิ่งเหล่านี้ คงต้องยกให้กับเหล่ามืออาชีพกันไป ส่วนผู้ที่กำลังมองหาไว้ใช้งานโดยทั่วไปแล้ว สำหรับการเลือกแรมมีหลักง่ายๆ เพียงไม่กี่ข้อ ไม่ยุ่งยาก เพียงแต่อาจใส่ใจอยู่บ้าง เริ่มตั้งแต่
ดูจากเมนบอร์ดที่ใช้อยู่ ปัจจุบันชัดเจนว่าแรมที่มีอยู่ในตลาดและใช้กันอยู่โดยทั่วไป มีอยู่ 3 รูปแบบคือ DDR, DDR2 และ DDR3 โดยที่แต่ละแบบก็ใช้งานกับแพลตฟอร์มต่างกันออกไป กล่าวคือ DDR (184-pins) จะทำงานร่วมกับชิปเซตรุ่นเก่าของทั้ง Intel ตระกูล 845, 865 และใน VIA P4M บางรุ่น สำหรับ AMD ก็มีตั้งแต่ nForce2, nForce3, GeForce 6100/6150 แต่เวลานี้ก็แทบจะลาจากตลาดไปอย่างถาวร ส่วนใหญ่จะถูกเปลี่ยนสำหรับการอัพเกรด ประกอบด้วย DDR400/333/266 (PC3200/2700/2100) ส่วน DDR2 (240-pins) นับว่ายังคงเป็นแรมยอดนิยม ที่ยืนหยัดอยู่ในตลาดได้อีกนานพอสมควร ใช้กับชิปเซตทั้งหลายที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันได้ ไม่ว่าจะเป็นค่ายอินเทล 915, 925, 945, 955, 965, 975, G31, G33, P35, X38 และ X48 รวมไปถึง 680i/ 780i ส่วนทาง AMD ก็ใช้ได้กับ nForce4, nForce 5xx Series, 690G, nForce 750/770/790FX Series ซึ่งก็มีให้เลือกตั้งแต่ DDR2 800/667/533 (PC6400/5300/4200) นับเป็นแรมที่มีราคาค่อนข้างถูก มีให้เลือกตั้งแต่แถวละ 512MB, 1GB และ 2GBล่าสุดกับ DDR3 (240-pins) ที่ยังถือว่าเป็นแรมที่มีประสิทธิภาพสูงพอสมควร รวมถึงราคาจำหน่ายด้วยเช่นกัน เนื่องจากยังไม่มีการสนับสนุนอย่างเต็มที่เท่าใดนัก ส่วนชิปเซตจากอินเทลจะมีเพียง X48 ที่รองรับการทำงานอย่างเต็มตัว แต่ผู้ผลิตก็ยังมีในแบบ DDR2 มาให้ใช้ด้วย ส่วนทาง AMDจะมีในรุ่น AMD 790i ที่เป็นรุ่นใหม่ล่าสุดเท่านั้น ที่ออกมารองรับการทำงานกับ DDR3 โดยจะมีความเร็วที่ DDR3 1333 และ DDR3 1066 (PC10600/8500)
เลือกที่ความจุและขนาดที่ต้องการ ให้ดูจากปริมาณการทำงานและแอพพลิเคชันที่ใช้เป็นหลัก หากการใช้งานทั่วไปร่วมกับวินโดวส์เอ็กซ์พีแล้ว ความจุที่512MB ก็น่าจะเพียงพอต่อการใช้งาน แต่ถ้ามีความต้องการในเรื่องของเกมสามมิติและโปรแกรมตกแต่งภาพแล้ว ความจุที่มากกว่า 1GB จะช่วยให้มีความลื่นไหลมากขึ้น ส่วนถ้าหากจำนำไปใช้กับงานระดับ Workstation ความจุที่ 2-4GB ก็ดูจะเป็นขนาดที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในช่วงที่แรม DDR2 ราคาถูกเช่นนี้ การอัพเกรดความจุให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะหาซื้อได้ ก็เป็นเรื่องที่ดีไม่น้อย
เลือกแบบ Single ความจุสูงแถวเดียวหรือ Dual ความจุเท่ากัน 2 แถวดีในความเป็นจริงทั้ง 2 แบบก็ถือว่าถูกเหมือนกัน แต่อาจต้องมาคิดคำนวณ ระหว่างราคากับประสิทธิภาพ ในปัจจุบันนี้ ต้องไม่ลืมว่าการทำงานในโหมด Dual Channel ที่เป็นแบบแรมสองแถวคู่ มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมไม่น้อยกว่า 20% แต่นั่นหมายถึงมีอัตราค่าใช้จ่ายสูงกว่าการซื้อแรมแบบแถวเดียว ในความจุเท่ากัน อย่างเช่นกรณี Corsair VS 512MB x 2 (Kit) ราคา 460 บาท แต่ถ้า 1 GB แถวละ 730 บาท (เดือนมกราคม) แต่แบนด์วิดธ์ที่ได้จะต่างกัน การใช้แถวคู่ก็แน่นอนว่าจะต้องเสียสล็อตเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่อง การอัพเกรดก็น้อยลง ดังนั้นแล้วก็ควรจะพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ
องค์ประกอบอื่นๆ ในส่วนขององค์ประกอบพิเศษก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการระบายความร้อน ซึ่งหลายค่ายนิยมติด Heat Spreader ที่ช่วยในการระบายความร้อนมาให้ ซึ่งดูเหมือนว่าจะเพิ่มมูลค่าได้ไม่น้อยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามการติดฮีตชิงก์ให้กับแรมนี้ควรจะต้องมั่นใจว่ามีการระบายความร้อนที่ดีด้วยเช่นกัน เช่นการปรับทิศทางลมให้เหมาะสม ไม่เช่นนั้นอาจเกิดภาวะสะสมความร้อน จนเกิดอันตรายต่อแรมได้เช่นกัน แต่ปัจจุบันก็มีพัดลมสำหรับสล็อตแรมมาจำหน่ายเช่นกัน
ที่มา หนังสือช่างคอมฯ 2009,http://www.bcoms.net/buycomputer/
CORE2 DUO E6750
ASUS P5KR RAM KINGSTON DDR2-800 1Gx2
PCI-E MSI 8800GT oc
DVDRW LITE-ON
FLOPPLY DISK SUMSUNG
CASE DELUX
PSU ENERMAX 460w
HDD SEAGATE 320GB SATA-II 16MB
LCD 19 LG FLATRON L194WT
การเลือกซื้ออุปกรณ์
การเลือกซื้อซีพียู
การเลือกซีพียูมีขั้นตอนง่ายๆในการพิจารณาคือ “ประสิทธิภาพที่คุ้มค่าต่อการใช้งานของคุณ” กล่าวคือ การจะเลือกซีพียูนั้นให้มองที่การใช้งานประจำวันของคุณเป็นหลัก
ผู้ใช้มือใหม่ เน้นราคาประหยัด ในกลุ่มของผู้ที่เริ่มต้นใช้งานคอมพิวเตอร์และต้องการความประหยัด รวมถึงการใช้งานพื้นฐานทั่วไป ตั้งแต่ซอฟแวร์สำนักงานสเปรดซีต ดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเทอร์เน็ต ที่ไม่จำเป็นต้องใช้การประมวลผลซับซ้อน และส่วนใหญ่จะประกอบเป็นพีซีในราคาประมาณ 10,000-15,000 บาท โดยซีพียูในกลุ่มดังกล่าวนี้ มีหลายรุ่นด้วยกัน ได้แก่ Celeron D/ Celeron –L/Pentium 4 จากค่าย Intel และ Sempron64/Athlon64จากทาง AMD ด้วยสนนราคาตั้งแต่ 1,000-2,500 บาท แต่ในกรณีที่มีงบประมาณสูงขึ้น Pentium Dual Core Athlon 64X2ก็นับเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ามากทีเดียวในขณะนี้
การเลือกเมนบอร์ด
ปัจจุบันในตลาดมีเมนบอร์ดให้เลือกอยู่หลากรุ่นหลายยี่ห้อ แม้ในซีรีส์ที่เป็นชิปเซตเดียวกัน ยังถูกจำแนกออกเป็นรุ่นต่างๆมากมายโดยมีฟีเจอร์หลักที่ไม่ต่างกันมากนัก แต่ด้วยการออกแบบลูกเล่นต่างๆประกอบเข้าไป เช่นชุดระบายความร้อนคุณภาพของชุดคาปาซิเตอร์ดีไซน์ ไบออส และคุณภาพ จึงกลายเป็นจุดขายที่แต่ละค่ายนำมาเสนอ ดังนั้นการเลือกใช้ต้องพิจารณาจากรูปแบบ ฟังก์ชันการใช้งานรวมถึงคุณภาพและราคาที่เหมาะกับผู้ใช้เป็นหลัก โดยเฉพาะในเรื่องของซิปเซตที่มีอยู่มากมายให้เลือกใช้
การเลือก LCD Monitor
การเลือกใช้จอภาพต้องให้เหมาะสมกับงานและสุขภาพดวงตา ดังนั้นหลักสำคัญหรือปัจจัยที่จะต้องนำมาพิจารณาเลือกซื้อจอภาพให้เกิดความคุ้มค่าและเหมาะสมมีดังนี้
- ชนิดของจอภาพ
- ขนาดของจอภาพ
- ความละเอียดของการแสดงผล
- อัตราการรีเฟรช
- ระยะ Dot Pitch
- ความสว่างบนหน้าจอ
- อัตราส่วนของความคมชัดของภาพ
- ขอบเขตของมุมมองในการมองภาพ
การเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่สำคัญ ปัจจุบันความจุของฮาร์ดดิสก์มีความจุสูงขึ้น อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้น ควรจะเลือกซื้อที่คุณสมบัติต่างๆดังนี้
- ความจุข้อมูล
- ความเร็วรอบในการหมุน
- อินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์
- ขนาดของบัฟเฟอร์
- การรับประกัน
การเลือกซื้อตัวเครื่องหรือเคส
- เลือกเคสที่ภายในดูโปร่ง กว้าง ถ่ายเทอากาศได้ดี
- มีการออกแบบฝาเคสที่ดูแล้วสามารถเปิด/ปิด ได้ง่าย
- แท่นรองเมนบอร์ดภายในเคสควรจะถอดออกได้
- ช่องเสียบอุปกรณ์ต่างๆควรออกแบบมาดี
- ฝาเคสด้านหน้าอาจจะเปิด/ปิดได้
- มีพอร์ตต่างๆเพิ่มเติมมาให้ที่ด้านหน้าหรือด้านข้างของตัวเคส
- Power Supply ที่ติดตั้งมาด้วยควรมีกำลังไฟเพียงพอ
- ตัวเครื่องภายนอกอาจจะออกแบบให้มีที่จับเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย
- พยายามเลือกเคสที่ช้วัสดุที่ทำมาจากพลาสติก
การเลือกซื้อเพาเวอร์ซัพพลาย
ในอดีตเพาเวอร์ซัพพลาย มักเป็นสิ่งที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์มองข้ามอยู่เสมอ เนื่องจากคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการใช้พลังงานไฟมากมายเช่นในปัจจุบัน อีกทั้งเพาเวอร์ส่วนใหญ่ที่ติดตั้งมากับตัวเคส โดยเฉพาะกับคอมพ์สำเร็จรูป ก็สามารถรองรับได้เพียงพอ แต่ในวันนี้เฉพาะเมนบอร์ดและการ์ดจอด รุ่นกลางๆ ก็สามารถทำให้เพาเวอร์เดิมๆ สะดุดหรือเกิดอาการผิดปกติได้ง่ายๆ แม้ว่าเพาเวอร์ที่ใช้นั้นจะระบุกำลังไฟที่ 450Walt ก็ตาม ดังนั้นจึงต้องมาทำความเข้าใจกันใหม่กับการเลือกใช้เพาเวอร์ซัพพลายให้เหมาะสมและถูกวิธี เพื่อที่จะช่วยให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ราบรื่น รวมถึงมีเสถียรภาพอีกด้วย หลักพิจารณาในการเลือกซื้อหรือว่าได้เวลาเปลี่ยน PSU หรือยังนั้น มีหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น อาการเกิดบลูสกรีน (Blue-scree) การดับหรือรีสตาร์ตโดยไม่ทราบสาเหตุ รวมถึงการไม่สามารถเข้าระบบได้เลย ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งจ่ายไฟไม่พอหรือเริ่มมีการลัดวงจรนั่นเอง ปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่บอกถึงอันตรายอันอาจเกิดกับอุปกรณ์อื่นๆ ในคอมพ์ด้วยดังนั้นอย่าได้นิ่งนอนใจในการแก้ไขปัญหา ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยน PSU จะมีการเลือกอย่างไร
เลือกแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือสูง ผู้ผลิตที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่ ก็จะใช้วัสดุคุณภาพดีและมีความประณีต ส่งผลต่อความปลอดภัยและความทนทานในการใช้งานที่นานขึ้น ผู้ใช้อาจเลือกตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์หรือร้านค้าที่จำหน่าย นอกจากนี้อาจเข้าไปสอบถามหรือหาข้อมูลจากผู้ใช้เว็บไซต์ทดสอบ เว็บบอร์ดต่างๆอีกครั้งเพื่อความมั่นใจ
เลือกกำลังไฟที่เพียงพอต่อคอมพิวเตอร์ ดูจากฉลากด้านข้างตัวอุปกรณ์ซึ่ง PSU รุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะระบุมาอย่างชัดเจน ด้วยกำลังไฟที่จ่ายได้ต่ำสุด-สูงสุด รวมถึงไฟเลี้ยงและค่าต้านทานที่เหมาะสมโดยที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 350-500 วัตต์ แต่ถ้าเป็นกลุ่มเกมเมอร์ก็จะสูงขึ้นไปอีกด้วยคือ 500-750 วัตต์ ยิ่งถ้าเป็นเกมการ์ดแบบคู่ไม่ว่าจะเป็น SLI หรือ CrossFire ซึ่งการ์ดแต่ละตัวต้องใช้ไฟเลี้ยงเพิ่มเติมด้วยแล้ว อาจต้องก้าวไปถึง 700 วัตต์ เลยทีเดียว มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ต่อพ่วงภายในด้วยเช่นกัน หากสงสัยวาคอมพิวเตอร์ของตนที่ใช้อยู่หรือกำลังจะซื้อ ต้องใช้ PSU ขนาดไหน สามารถเข้าไปคำนวณการใช้พลังงานของเครื่อง เพื่อใช้ในการเลือกซื้อเพาเวอร์ซัพพลายได้ง่ายๆ
การเลือกซื้อกราฟิกการ์ด
อินเทอร์เฟช แน่นอนว่าก่อนซื้อก็คงต้องตรวจสอบดูก่อนว่าใช้เมนบอร์ดที่มีสล็อตแบบใด ปัจจุบันมีทั้งแบบ PCI-Express 16x ที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป และอีกแบบหนึ่งคือสล็อต AGP8x ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บนเมนบอร์ดรุ่นเก่าที่ไม่ใช่ Socket 775 และ 939/ AM2 ซึ่งผู้ใช้ควรต้องพิจารณาก่อนการเลือกซื้อด้วยนอกจากนี้ในเรื่องการเลือกให้สังเกตด้วยว่าการ์ดที่ซื้อมามีช่องต่อเพาเวอร์หรือไม่ เพราะการ์ดรุ่นใหม่หลายรุ่น มักต้องใช้ไฟเพิ่มจากปกติ ซึ่งอาจจะเป็น Molex-4-pins หรือ 6-pins
การระบายความร้อน ชุดระบายความร้อน ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับกราฟิกการ์ด ไม่ต่างไปจากฮีตซิงก์ของซีพียู เนื่องจาก GPU เอง ก็มีคาปาซิเตอร์จำนวนนับล้านไม่ต่างไปจากซีพียู ดังนั้นจึงเกิดความร้อนที่สูง การระบายความร้อนที่ดีจะช่วยให้การ์ดทำงานได้ยาวนานขึ้น โดยการระบายความร้อนของการ์ดจะมีให้เลือกทั้งแบบ ฮีตชิงก์พัดลมและฮีตไปป์ การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม หากอุณหภูมิในห้องสูง การเลือกฮีตซิงก์พัดลม ดูจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม เนื่องจากมีการระบายความร้อนจากตัวฮีตซิงก์ได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็จะเกิดเสียงรบกวนอยู่บ้างแต่ถ้าในห้องมีการปรับอุณหภูมิ การใช้ฮีตไปป์ก็จะช่วยลดการใช้พัดลมลง เสียงรบกวนก็น้อยลงเช่นกัน แต่ทั้งสองรูปแบบ ก็คงต้องอาศัยการจัดทิศทางลมภายในเคสที่ดีด้วย
Hyper Memory/ Turbo Cache สิ่งหนึ่งที่เราจะพบเห็นได้บ่อยๆ บนกราฟิกการ์ดราคาประหยัดก็คือ การมีหน่วยความจำเพียง 64MB หรือ 256MB เท่านั้น ซึ่งบางครั้งการใช้งานร่วมกับเกมหรือโปรแกรมสามมิติแทบเป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้นแล้วผู้ผลิต จึงได้ใส่เทคโนโลยีดังกล่าวมาให้ ด้วยฟีเจอร์ในการเพิ่มขนาดบัฟเฟอร์ให้มีมากขึ้น โดยการนำหน่วยความจำหลักหรือแรมมาใช้ร่วมได้ ซึ่งจะระบุฟีเจอร์และขนาดของแรมที่จะแชร์ได้ไว้ที่หน้ากล่องโดยของทาง ATI จะเรียกว่า Hyper Memory ส่วนทาง nVIDIA ใช้ชื่อว่า TurboCache นั่นเอง ทั้งสองรูปแบบนี้ จะทำหน้าที่คล้ายคลึงกัน และจะแชร์หน่วยความจำได้ตั้งแต่ 256MB/512MB ไปจนถึง 1GB ขึ้นอยู่กับการติดตั้งหน่วยความจำหลักในเครื่องไว้มากน้อยเพียงใด การ์ดในรูปแบบดังกล่าวนี้ จัดอยู่ในกลุ่มราคาประหยัด ที่ไม่ได้เน้นการเล่นเกมมากนัก ด้วยราคาที่ถูกมากๆ จึงทำให้ได้รับความสนใจอยู่มากทีเดียว
การเลือกซื้อออปติคอลไดรฟ์
การเลือกออปติคอลไดรฟ์ ในปัจจุบันตัดสินใจค่อนข้างง่ายทีเดียว เนื่องจากไดรฟ์แบบ DVD?RW นั้นราคาถูกมาก เริ่มต้นเพียง 1,000 บาท เท่านั้นสำหรับ Intemal ซึ่งราคาจะแพงกว่า DVD และ CD-RW อยู่เพียง 200-300 บาทเท่านั้น แต่สามารถเขียนและอ่านแผ่นได้ทั้ง DVD และCD ดังนั้นการลงทุนกับ DVD?RW จึงดูจะเป็นทางเลือกที่คุ้มค่า แต่จะเลือกอย่างไรดีในเมื่อมีหลายรุ่นหลากยี่ห้อให้เลือกใช้
DVD+R/ DVD-R/ DVD-RAM แตกต่างกันอย่างไรแน่นอนว่า DVD Writer เครื่องหนึ่ง ไม่ได้มีฟังก์ชันเพียง DVD-R หรือ RW เท่านั้น แต่ยังมีฟังก์ชันอื่นๆ มากมายมาอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็น DVD-R/+R, DVD?RW, Dual Layer หรือ Double side แล้วสิ่งเหล่านี้คืออะไร ใช้งานแบบไหน ลองมาดูกัน DVD-R : เป็นรูปแบบพื้นฐานที่ใช้กันอยู่ทั่วไป การทำงานง่ายๆคือ การเขียนข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว ไม่สามารถเขียนซ้ำได้DVD+R : มีความสามารถเหมือนกับ-R แต่มีความพิเศษที่สามารถเขียนข้อมูลเพิ่มเติมลงไปได้ แต่เขียนซ้ำและลบข้อมูลไม่ได้DVD RW : เป็นแบบที่ค่อนข้างได้รับความนิยม ด้วยจุดเด่นที่ รองรับการเขียนและข้อมูลใหม่ได้หลายครั้ง แต่เปลี่ยนข้อมูลทั้งแผ่น DVD-RAM : เป็นรูปแบบการเขียนข้อมูลแบบพิเศษ ด้วยการเขียนข้อมูลลงแผ่นได้เฉพาะส่วนและเลือกลบข้อมูลจากส่วนใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงทั้งแผ่นแบบ DVD-RW แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากแผ่นมีราคาสูงและหายากDVD Dual Layer : เดิมรูปแบบของแผ่นที่ใช้กันอยู่จะเป็นแบบ Single Layer คือ การเขียนข้อมูลแบบชั้นเดียว แต่สำหรับแผ่น Dual Layer จะมีการเคลือบสารเคมีสองชั้นจึงทำให้เขียนข้อมูลได้ 2 ระดับ เก็บข้อมูลได้มากกว่าปกติเท่าตัวหรือประมาณ 9GB นั้นเองDVD Double side : การเก็บข้อมูลจะคล้ายกับ Dual Layer ซึ่งได้ความจุที่ 9GB เช่นเดียวกัน เพียงแต่การเก็บข้อมูลจะเป็นแบบหน้าและหลัง ต้องมีการกลับแผ่นในการใช้งาน
การเลือกซื้อแรม (RAM) หรือหน่วยความจำหลัก
การเลือกซื้อแรมปัจจุบัน นอกจากจะต้องดูกันที่ความจุความเร็วแล้ว หลายคนยังมองไปที่สัปดาห์ที่ผลิต รวมถึงเม็ดแรมที่นำมาใช้อีกด้วย โดยเฉพาะกับบรรดาเซียนคอมพ์ทั้งหลาย ที่แทบจะเอากล้องส่งอพระมาส่องกันเลยทีเดียว แต่สิ่งเหล่านี้ คงต้องยกให้กับเหล่ามืออาชีพกันไป ส่วนผู้ที่กำลังมองหาไว้ใช้งานโดยทั่วไปแล้ว สำหรับการเลือกแรมมีหลักง่ายๆ เพียงไม่กี่ข้อ ไม่ยุ่งยาก เพียงแต่อาจใส่ใจอยู่บ้าง เริ่มตั้งแต่
ดูจากเมนบอร์ดที่ใช้อยู่ ปัจจุบันชัดเจนว่าแรมที่มีอยู่ในตลาดและใช้กันอยู่โดยทั่วไป มีอยู่ 3 รูปแบบคือ DDR, DDR2 และ DDR3 โดยที่แต่ละแบบก็ใช้งานกับแพลตฟอร์มต่างกันออกไป กล่าวคือ DDR (184-pins) จะทำงานร่วมกับชิปเซตรุ่นเก่าของทั้ง Intel ตระกูล 845, 865 และใน VIA P4M บางรุ่น สำหรับ AMD ก็มีตั้งแต่ nForce2, nForce3, GeForce 6100/6150 แต่เวลานี้ก็แทบจะลาจากตลาดไปอย่างถาวร ส่วนใหญ่จะถูกเปลี่ยนสำหรับการอัพเกรด ประกอบด้วย DDR400/333/266 (PC3200/2700/2100) ส่วน DDR2 (240-pins) นับว่ายังคงเป็นแรมยอดนิยม ที่ยืนหยัดอยู่ในตลาดได้อีกนานพอสมควร ใช้กับชิปเซตทั้งหลายที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันได้ ไม่ว่าจะเป็นค่ายอินเทล 915, 925, 945, 955, 965, 975, G31, G33, P35, X38 และ X48 รวมไปถึง 680i/ 780i ส่วนทาง AMD ก็ใช้ได้กับ nForce4, nForce 5xx Series, 690G, nForce 750/770/790FX Series ซึ่งก็มีให้เลือกตั้งแต่ DDR2 800/667/533 (PC6400/5300/4200) นับเป็นแรมที่มีราคาค่อนข้างถูก มีให้เลือกตั้งแต่แถวละ 512MB, 1GB และ 2GBล่าสุดกับ DDR3 (240-pins) ที่ยังถือว่าเป็นแรมที่มีประสิทธิภาพสูงพอสมควร รวมถึงราคาจำหน่ายด้วยเช่นกัน เนื่องจากยังไม่มีการสนับสนุนอย่างเต็มที่เท่าใดนัก ส่วนชิปเซตจากอินเทลจะมีเพียง X48 ที่รองรับการทำงานอย่างเต็มตัว แต่ผู้ผลิตก็ยังมีในแบบ DDR2 มาให้ใช้ด้วย ส่วนทาง AMDจะมีในรุ่น AMD 790i ที่เป็นรุ่นใหม่ล่าสุดเท่านั้น ที่ออกมารองรับการทำงานกับ DDR3 โดยจะมีความเร็วที่ DDR3 1333 และ DDR3 1066 (PC10600/8500)
เลือกที่ความจุและขนาดที่ต้องการ ให้ดูจากปริมาณการทำงานและแอพพลิเคชันที่ใช้เป็นหลัก หากการใช้งานทั่วไปร่วมกับวินโดวส์เอ็กซ์พีแล้ว ความจุที่512MB ก็น่าจะเพียงพอต่อการใช้งาน แต่ถ้ามีความต้องการในเรื่องของเกมสามมิติและโปรแกรมตกแต่งภาพแล้ว ความจุที่มากกว่า 1GB จะช่วยให้มีความลื่นไหลมากขึ้น ส่วนถ้าหากจำนำไปใช้กับงานระดับ Workstation ความจุที่ 2-4GB ก็ดูจะเป็นขนาดที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในช่วงที่แรม DDR2 ราคาถูกเช่นนี้ การอัพเกรดความจุให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะหาซื้อได้ ก็เป็นเรื่องที่ดีไม่น้อย
เลือกแบบ Single ความจุสูงแถวเดียวหรือ Dual ความจุเท่ากัน 2 แถวดีในความเป็นจริงทั้ง 2 แบบก็ถือว่าถูกเหมือนกัน แต่อาจต้องมาคิดคำนวณ ระหว่างราคากับประสิทธิภาพ ในปัจจุบันนี้ ต้องไม่ลืมว่าการทำงานในโหมด Dual Channel ที่เป็นแบบแรมสองแถวคู่ มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมไม่น้อยกว่า 20% แต่นั่นหมายถึงมีอัตราค่าใช้จ่ายสูงกว่าการซื้อแรมแบบแถวเดียว ในความจุเท่ากัน อย่างเช่นกรณี Corsair VS 512MB x 2 (Kit) ราคา 460 บาท แต่ถ้า 1 GB แถวละ 730 บาท (เดือนมกราคม) แต่แบนด์วิดธ์ที่ได้จะต่างกัน การใช้แถวคู่ก็แน่นอนว่าจะต้องเสียสล็อตเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่อง การอัพเกรดก็น้อยลง ดังนั้นแล้วก็ควรจะพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ
องค์ประกอบอื่นๆ ในส่วนขององค์ประกอบพิเศษก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการระบายความร้อน ซึ่งหลายค่ายนิยมติด Heat Spreader ที่ช่วยในการระบายความร้อนมาให้ ซึ่งดูเหมือนว่าจะเพิ่มมูลค่าได้ไม่น้อยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามการติดฮีตชิงก์ให้กับแรมนี้ควรจะต้องมั่นใจว่ามีการระบายความร้อนที่ดีด้วยเช่นกัน เช่นการปรับทิศทางลมให้เหมาะสม ไม่เช่นนั้นอาจเกิดภาวะสะสมความร้อน จนเกิดอันตรายต่อแรมได้เช่นกัน แต่ปัจจุบันก็มีพัดลมสำหรับสล็อตแรมมาจำหน่ายเช่นกัน
ที่มา หนังสือช่างคอมฯ 2009,http://www.bcoms.net/buycomputer/
วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ชิปเซ็ต (Chipset)
ชิปเซ็ต(Chipset)
ชิปเซ็ต(Chipset) เป็นองค์ประกอบสำคัญเพราะถือว่าเป็นหัวใจสำคัญหลักของระบบที่ใช้ควบคุมการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์ต่าง ๆให้ประสานกันอย่างราบรื่นทั้งซีพียู แคช หน่วยความจำ บัสต่างๆ และพอร์ตทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ ชิบเช็ตจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของระบบเป็นอย่างมาก
ชิปเซ็ต(Chipset) แยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ความเร็วสูงต่าง ๆ เช่น ซีพียูหน่วยความจำแคช แรม และกราฟิกการ์ด ซึ่งชิปเซ็ตในส่วนนี้เราเรียกว่า North Bridge กับส่วนควบคุม
ของอุปกรณ์ความเร็วต่ำ เช่น IDE/FDD/SATA Controller,
ชิปเสียง ชิปเน็ตเวิรก์ ไบออส พอร์ตหรือคอนเน็คเตอร์ต่างๆ และช่องสล็อตสำหรับเสียบการ์ดต่างๆ เป็นต้น ชิปเซ็ตในส่วนนี้เราเรียกว่าSouth Bridge
เทคโนโลยี Intel XMP หรือ Intel Extreme Memory- Profiles
เป็นเทคโนโลยีที่มีอยู่ในชิปเซ็ต MCH รุ่นใหม่ๆของ intel อย่าง x48และ x38 Express หรืออาจกล่าวได้ว่ามาพร้อมกับหน่วยความจำDDR3
สำหรับ xmp เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้งานที่ชื่นชอบการปรับแต่งหรือโอเวอร์คล็อกส่วนต่างๆของระบบทั้งกับ ซีพียูและหน่วยความจำเช่นความเร็วในระดับต่างๆอัตราไทม์มิ่ง (Timing)
ของหน่วยความจำ,ความเร็ว FSBที่เหมาะสมของซีพียู ฯ ลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุดควบคู่ไปกับความมีเสถียรภาพที่ดีของระบบนั่นเอง
Intel รุ่นP45 Express ( MCH ) กับ ICH10/10R
( ICH ) ซึ่งมีจุดเด่นคือ รองรับซีพียู 45 และ 65 nm ในตระกูล
Core 2 ทั้ง Duo และ Quad ความเร็ว FSB จะใช้งานในแบบ CrossFire
หรือกราฟิกการ์ดแบบคุ่ ( บนเมนบอร์ดรุ่นที่สนับสนุน )
จะเป็น PCI-Express มาตรฐาน 2.0 ความเร็ว x8 จำนวน 2 สล็อต
ซึ่งมีแบนด์วิดธ์เป็น x8+x8 เท่ากับ 16 GB/s เป็นต้น
ชิปเซ็ต(Chipset) เป็นองค์ประกอบสำคัญเพราะถือว่าเป็นหัวใจสำคัญหลักของระบบที่ใช้ควบคุมการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์ต่าง ๆให้ประสานกันอย่างราบรื่นทั้งซีพียู แคช หน่วยความจำ บัสต่างๆ และพอร์ตทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ ชิบเช็ตจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของระบบเป็นอย่างมาก
ชิปเซ็ต(Chipset) แยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ความเร็วสูงต่าง ๆ เช่น ซีพียูหน่วยความจำแคช แรม และกราฟิกการ์ด ซึ่งชิปเซ็ตในส่วนนี้เราเรียกว่า North Bridge กับส่วนควบคุม
ของอุปกรณ์ความเร็วต่ำ เช่น IDE/FDD/SATA Controller,
ชิปเสียง ชิปเน็ตเวิรก์ ไบออส พอร์ตหรือคอนเน็คเตอร์ต่างๆ และช่องสล็อตสำหรับเสียบการ์ดต่างๆ เป็นต้น ชิปเซ็ตในส่วนนี้เราเรียกว่าSouth Bridge
เทคโนโลยี Intel XMP หรือ Intel Extreme Memory- Profiles
เป็นเทคโนโลยีที่มีอยู่ในชิปเซ็ต MCH รุ่นใหม่ๆของ intel อย่าง x48และ x38 Express หรืออาจกล่าวได้ว่ามาพร้อมกับหน่วยความจำDDR3
สำหรับ xmp เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้งานที่ชื่นชอบการปรับแต่งหรือโอเวอร์คล็อกส่วนต่างๆของระบบทั้งกับ ซีพียูและหน่วยความจำเช่นความเร็วในระดับต่างๆอัตราไทม์มิ่ง (Timing)
ของหน่วยความจำ,ความเร็ว FSBที่เหมาะสมของซีพียู ฯ ลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุดควบคู่ไปกับความมีเสถียรภาพที่ดีของระบบนั่นเอง
Intel รุ่นP45 Express ( MCH ) กับ ICH10/10R
( ICH ) ซึ่งมีจุดเด่นคือ รองรับซีพียู 45 และ 65 nm ในตระกูล
Core 2 ทั้ง Duo และ Quad ความเร็ว FSB จะใช้งานในแบบ CrossFire
หรือกราฟิกการ์ดแบบคุ่ ( บนเมนบอร์ดรุ่นที่สนับสนุน )
จะเป็น PCI-Express มาตรฐาน 2.0 ความเร็ว x8 จำนวน 2 สล็อต
ซึ่งมีแบนด์วิดธ์เป็น x8+x8 เท่ากับ 16 GB/s เป็นต้น
วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
Main Board
แผงวงจรหลักคืออะไร
ถ้าถามว่าในคอมพิวเตอร์ อะไรสำคัญที่สุด คำตอบที่ออกมาเป็นเสียงเดียวกันก็คือ ซีพียู จริงมั้ยครับ รองลงมาก็คือหน่วยความจำหลัก จะมีสักกี่คนที่นึกถึงความสำคัญของเมนบอร์ดบ้าง สายใยสัมพันธ์แห่งครอบครัวที่ร้อยรัดอยู่ได้มิใช่เพราะมี "บ้าน" หรือครับ ลำพังซีพียูอย่างเดียวจะไปทำอะไรได้
แผงวงจรหลักหรือที่รู้จักกันในชื่อของเมนบอร์ด (Main Board, Mother Board) หรือบางคนอาจเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่ามาเธอร์บอร์ดก็ตามแต่สะดวก ไม่มีข้อห้าม แต่ทั้งหมดนั้นหมายถึงอุปกรณ์ชิ้นเดียวกัน ชิ้นไหนล่ะ ก็ชิ้นที่เป็นแผงรวมวงจรอิเลคทรอนิคส์อยู่ในตัวเคสของคอมพิวเตอร์นั่นอย่างไรครับ ถ้าในเครื่องคอมพิวเตอร์มีแผงวงจรอะไรต่อมิอะไรจิปาถะ สามสี่แผง แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าแผงไหนคือ แผงวงจรหลัก คำตอบก็คือให้ดูที่แผงที่ใหญ่ที่สุดนั่นแหละครับ เพราะในคอมพิวเตอร์ แผงวงจรอื่นๆจะใหญ่กว่าแผงวงจรหลักเป็นไม่มี คราวนี้ก็ลองเปิดฝาครอบกล่องคอมพิวเตอร์ออกมาดูสิครับ มองลงไปจะมองเห็นแผงวงจรใหญ่ๆ แผงหนึ่ง วางในลักษณะติดกับพื้นเคส มีสายอะไรระโยงระยาง แล้วก็บอร์ดเล็กบอร์ดน้อยเสียบค้างไว้ นั่นแหละครับ เมนบอร์ด
แผงวงจรหลักทำหน้าที่อะไร
แผงวงจรหลักก็เหมือนกับพื้นที่ชุมชน + เส้นทางการคมนาคม + ศูนย์ควบคุมการจราจร โดยมีกฎหมายว่าด้วยการประมวลผลของคอมพิวเตอร์เป็นตัวบทกฎหมายหลัก และถูกสร้างขึ้นด้วยทฤษฎีการทำงานของคอมพิวเตอร์
สถาปัตยกรรมของเมนบอร์ด
สถาปัตยกรรมของเมนบอร์ดในที่นี้หมายถึงบัส (BUS) เนื่องจากในคอมพิวเตอร์นั้น การประมวลผลต่างๆเกี่ยวพันกับการเดินทางการส่ง การโอนถ่ายข้อมูลเป็นสำคัญ ดังนั้น สิ่งที่สำคัญเป็นอันดับแรกก็คือ เมนบอร์ดนั้นจะต้องใช้สถาปัตยกรรมแบบไหน เมื่อกำหนดได้ว่าจะใช้แบบไหนแล้ว ก็เหมือนกับได้ "แผนการสร้างเมือง" มาโดยคร่าวๆ ต่อไปก็จะได้ออกแบบวางตำแหน่งที่ตั้งของอาคารสำนักงาน หรือในทางคอมพิวเตอร์ก็คือตำแหน่งที่ตั้งของซีพียู หน่วยความจำหลักนั่นเอง ปัจจุบันเป็นที่เห็นพ้องต้องกันว่า PCI BUS เป็นระบบบัสที่มีประสิทธิภาพสำหรับการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ในอดีตมี ISA BUS มี MCA BUS ปัจจุบัน ISA BUS ก็ยังคงมีใช้อยู่ในคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีอุปกรณ์ต่อพ่วงจำพวกการ์ดอีกหลายยี่ห้อยังต้องการใช้งานอยู่ แต่เท่าที่ดูมีแนวโน้มว่าความต้องการ ISA BUS ในแผงวงจรหลักจะลดน้อยลงเรื่อยๆ สังเกตได้จากเมนบอร์ดรุ่นใหม่ อาจจะมีสล๊อตสำหรับ PCI 5 ช่อง สำหรับ ISA เพียง 2 ช่อง
สำหรับระบบการควบคุมการแสดงผลของจอภาพ สมัยที่คอมพิวเตอร์ 80486 อาจจะเคยได้ยิน VL-BUS หรือ VESA Local BUS ซึ่งกำหนดให้ซีพียูและการแสดงผลของคอมพิวเตอร์มีบัสเฉพาะที่มีความกว้าง 32 บิต ต่อมาอินเทลเห็นว่า VL BUS ไม่สามารถสนับสนุนการทำงานของเพนเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้ออกแบบบัสแบบใหม่ที่ชื่อว่า PCI BUS ซึ่งไม่ได้ใช้เฉพาะการควบคุมการแสดงผลของจอภาพหรือสำหรับการ์ดวีจีเอเท่านั้น แต่ออกแบบให้ใช้กับอุปกรณ์ทั่วๆ ไปได้ด้วย และในตอนปลายของปี 2540 AGP BUS (Accelerator Graphic Port) ซึ่งออกแบบโดยอินเทลเช่นเดียวกัน ออกมาในลักษณะเดียวกับ VLBUS คือ เพื่อใช้งานกับการ์ดควบคุมการแสดงผลของคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ
ซ๊อคเก็ต (Socket) สำหรับซีพียู
เมื่อดูที่เมนบอร์ดสิ่งแรกที่จะพูดถึงก็คือ ซ็อคเก็ต (Socket) สำหรับใส่ซีพียู ซึ่งในเมนบอร์ด 486 และเพนเทียมเรียกว่า ZIF Socket ย่อมาจาก Zero Insert Force เวลาจะใส่ซีพียูลงบนซ๊อคเก็ตดังกล่าวก็เพียงแต่วางไปยังตำแหน่งของซ๊อคเก็ต ให้ขาของซีพียูตรงกับรูซ็อคเก็ตเท่านั้นเอง เรียกว่าแทบไม่ต้องออกแรงเลยทีเดียว เอาละ นี่คือหัวใจที่ถูกติดตั้งลงไปแล้ว ปกติเมนบอร์ดสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วๆ ไปจะมีซ๊อคเก็ตสำหรับใส่ซีพียูเพียงตัวเดียว เว้นเสียแต่มีบางเมนบอร์ดที่ใส่ได้มากกว่า 1 ตัว เช่น 2 ตัว และเมนบอร์ดสำหรับเซิร์ฟเวอร์บางรุ่นใช้ได้ถึง 4 ตัว ตัวของ Socket เองยังแบ่งออกไปเป็นหลายๆรุ่น เช่น Socket 3 Socket 5 Socket 7 โดยดูตามขนาดของขา (PIN) และใช้กับซีพียูต่างชนิดกัน และเมื่อมาถึงสมัยของซีพียูเพนเทียม II, Celeron อินเทลก็ออกแบบที่ใส่ซีพียูใหม่ โดยให้ชื่อว่า Slot 1 ซึ่งมีลักษณะเป็นช่องแนวยาวเหมือนช่องเสียบการ์ด PCI ตัว Slot 1 นั้นเวลาติดตั้งซีพียูต้องใช้กลไกช่วยยึดซีพียูด้วย ข้อดีของ Slot 1 คือ ไม่ต้องกังวลเรื่องการหักงอของขาซีพียู และการติดตั้งง่ายกว่า แต่ได้จดลิขสิทธิ์สำหรับ Slot 1 จึงทำให้มีเฉพาะซีพียูเท่านั้นที่สามารถใช้ Slot 1ได้
ไบออส (BIOS)
ไบออส (BIOS) ย่อมาจาก Basic Input Output System แต่ในเมนบอร์ดแล้วหมายถึง โปรแกรมที่บรรจุอยู่ใน ROM (Read only Memory) หน้าตาของ ROM นั้นจะมีลักษณะแบบตัวไอซี สี่เหลี่ยมจตุรัส/สี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดไม่ใหญ่โตนัก บนตัว ROM เองก็มักจะมีป้ายบอกว่านี่เป็นของ Awards, AMI, Phonix หรือของผู้ผลิตรายใด BIOS เป็นเสมือนศูนย์บัญชาการบนเมนบอร์ดที่จะสอดส่อง ดูแล ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ Input/Output ขั้นพื้นฐาน และแจ้งให้ทราบกรณีพบว่าเกิดความผิดพลาดขึ้นแล้ว สิ่งที่แจ้งให้ทราบนั้นเรียกกันว่า POST (Power On Self Test) หรือบางครั้งจะแจ้งให้ทราบโดยการส่งสัญญาณบี๊บทางลำโพงของคอมพิวเตอร์ก็มี
ไบออสนั้นถูกโปรแกรมให้มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะของเมนบอร์ด เช่น ใช้กับซีพียูรุ่นไหน ชิปเซ็ตรุ่นไหน หน่วยความจำแบบใด และใช้กับอุปกรณ์ต่อพ่วงพื้นฐาน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์ฟล๊อปปี้ พอร์ตขนาน พอร์ตอนุกรมแบบใด ดังนั้นจึงเป็นเหตุที่ว่า ทำไมต้องเซ็ตไบบอส (BIOS Setup) ก็เพื่อกำหนดให้ไบออสรู้จักอุปกรณ์ต่างๆที่มีในคอมพิวเตอร์และสามารถใช้งานได้นั่นเอง
ปัจจุบันเนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้ชิ้นส่วนภายในคอมพิวเตอร์เปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก และตัวไบบอสเองก็เป็นเพียงโปรแกรมเท่านั้น จึงอาจจะมีข้อบกพร่องได้ จึงมีการออกแบบไบออสที่สามารถนำมาใส่โปรแกรมลงไปทีหลังได้ เรียกว่าการแฟลช (Flash) ไบออส หรือการล้างแล้วใส่โปรแกรมลงไปใหม่
Socket หรือ Slot สำหรับหน่วยความจำหลัก
หลังจากนั้นมองถัดไป จะเห็นช่องสำหรับติดตั้งแผงหน่วยความจำหลัก (RAM) เรียกว่า BANK หรือ Slot กษณะช่องก็แตกต่างกันไปตามแต่ประเภทของหน่วยความจำหลักที่จะใช้ เช่น SIMM 32 ขา, SIMM 72 ขา, หรือ DIMM 168 ขา ปกติบนเมนบอร์ดมีช่องใส่ RAM เฉพาะแบบใดแบบหนึ่ง แต่ก็มีเมนบอร์ดส่วนหนึ่งที่มีช่องสำหรับใส่ RAM 2 ชนิดรวมกัน เช่น SIMM 32 + SIMM 72 หรือ SIMM 72 + DIMM 168 แต่ในการใช้งานจริงๆ แล้วอาจจะต้องเลือกใช้ RAM แบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากความไม่เข้ากันในเรื่องของแรงดันไฟฟ้า โดยมีประมาณ 2 - 6 ช่อง ถ้ามองให้ละเอียดอีกหน่อยจะเห็นว่าบริเวณระหว่างซีพียูและหน่วยความจำหลักนั้น มีเส้นลายทองแดงเรียงร้อยเป็นแนวระเบียบทีเดียว นั่นเป็นทางเดินของข้อมูล และเมนบอร์ดก็จะเต็มไปด้วยลายทองแดงแบบนี้ทั้งหมด
IDE / Floppy DISK Connector
หัวต่อฟล็อปปี้ดิสก์ หรือหัวต่อ (Connector) ประการนี้บางแห่งเรียกทับศัพท์ว่าคอนเนคเตอร์เลยก็มี หัวต่อนั้นมีไว้สำหรับต่ออุปกรณ์หลายประเภทด้วยกัน อย่าเพิ่งสับสนครับ วิธีการที่จะจำได้อย่างแม่นยำว่าหัวต่ออะไรใช้สำหรับอะไรแล้ว ให้นับจำนวนขา (PIN) ของ Connector เป็นสำคัญ ถ้านับได้ครบ 40 ขา ที่จริงไม่ต้องนับหรอกครับ สังเกตดูว่าเป็นคอนเนคเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในเมนบอร์ด จะมี 1-2 อัน เรียกว่า IDE Connector ทั้งสองอันจะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน คือ ตัวหลักเรียก Primary Controller ตัวรองเรียก Secondary Controller ทั้งหมดนี้สำหรับต่ออุปกรณ์ที่เป็นไปตามมาตรฐาน IDE ได้แก่ฮาร์ดดิสก์และไดรฟ์ซีดีรอม ใกล้ๆกันจะมีคอนเนคเตอร์ขนาดเล็กลงไปแต่มี 40 ขาเหมือนกัน ก็เป็น Floppy Disk Connector เอาไว้สำหรับต่อกับไดรฟ์ฟล๊อปปี้ซึ่งมีอยู่เพียงหัวเดียว เมนบอร์ดรุ่นปัจจุบันจะมีคอนเนคเตอร์เหล่านี้อยู่บนบอร์ด ที่เรียกกันว่า On Board นั่นเอง แต่ถ้าเป็นเมนบอร์ดสมัยก่อนที่ออกแบบสำหรับซีพียู 80386 80486 จะมีแผงวงจรเล็กๆแยกออกต่างหาก สำหรับต่อฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์ฟล๊อปปี้ พอร์ตขนาน พอร์ตอนุกรม เรียกแผงวงจรนั้นว่า Multi I/O Board หรือแผงสำหรับอุปกรณ์ Input/Output นั่นเอง เป็นแผงเสียบลงบน Slot ISA 16 BIT
พอร์ต
พอร์ต เป็นคำทับศัพท์ในทางคอมพิวเตอร์ไปแล้ว เรียกกันจนเคยชิน พอร์ตขนาน พอร์ตอนุกรม ข้อเท็จจริงมาจาก ในเมนบอร์ดนั้นถูกสร้างด้วยสถาปัตยกรรมเรียกว่า BUS เป็นเมนบอร์ด BUS แบบไหน PCI /ISA BUS ก็คือ ช่องทางเดินของข้อมูล เพราะสัญญาณหรือข้อมูลจะวิ่งผ่านลายทองแดงตลอดเวลา แต่เมื่อไรก็ตามที่ข้อมูลเหล่านั้นวิ่งไปสุดถนน หรือสุดชายฝั่ง จะต้องมี "ท่า" เช่น "ท่ารถ" "ท่าเรือ" สำหรับขนส่งโดยอุปกรณ์ชนิดอื่นต่อไป เช่นไปที่ "Air Port" ท่าอากาศยานเพื่อส่งไปทางเครื่องบิน ในคอมพิวเตอร์ก็เช่นเดียวกัน ข้อมูลที่จะต้องถูกลำเลียงออกโดยเครื่องพิมพ์จะต้องถูกส่งไปที่ Parallel Port หรือ Printer Port หรือข้อมูลที่จะต้องถูกนำไปยังปลายทางโดยทางโมเด็มก็จะต้องถูกส่งไปที่ Communication Port (หรือเรียกกันว่า COM Port เรียกสั้น ความหมายที่แท้จริงก็คือ พอร์ตสำหรับสื่อสาร)
คอนเนคเตอร์สำหรับ LTP 1, COM 1 COM2, PS/2, Keyboard
ถัดมาตอนหลังของบอร์ด จะมองเห็นหัวต่ออีก 3- 4 หัวต่อ สำหรับพอร์ตขนาน LTP 1 ช่อง สำหรับพอร์ตอนุกรม COM1 COM2 อีก 2 ช่อง และสำหรับเมาส์แบบ PS/2 อีก 1 ช่อง นอกจากนี้ยังมีช่องสำหรับเสียบคีย์บอร์ดอีก 1 ช่อง ปกติถ้าเป็นเมนบอร์ดแบบ AT ละก็ จะต้องเอาสายแพที่มีพอร์ตมาต่อกับหัวต่อเหล่านี้ แต่ถ้าหากเป็นมนบอร์ดแบบ ATX ล่ะก็ ไม่ต้องต่อ เพราะพอร์ตจะถูกสร้างไว้บนเมนบอร์ดแล้ว เรียกว่า Built In ลงไปแล้ว
สล๊อตขยาย (Expansion Slot)
สืบเนื่องมากจากความต้องการของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ในยุค 486 และเพนเทียมต้นๆ มาตรฐานของคอมพิวเตอร์คือ เมนบอร์ด ซีพียู การ์ด I/O ฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์ฟล๊อปปี้ การ์ดแสดงผล ทำให้ผู้ผลิตเล็งเห็นว่าเพื่อลดต้นทุนการผลิต จึงออกแบบเมนบอร์ดที่มีสล๊อตขยาย เพื่อให้ผู้ใช้งานมีโอกาสที่จะเลือกอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์ของตนเองประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งคือ เพื่อเป็นการลดต้นทุนของคอมพิวเตอร์ทั้งชุดลงไป สล๊อตขยายจึงได้ถูกออกแบบเพื่อรองรับวัตถุประสงค์ดังกล่าว หน้าตาของ Slot ขยายจะมีลักษณะเป็นช่องเสียบ สำหรับเสียบอุปกรณ์ ซึ่งเรียกว่า Add on Card หรือการ์ด หรือที่รู้จักกันในชื่อของ Daughter Board หรือบอร์ดลูกนั่นเอง ปัจจุบันสล๊อตขยายทางคอมพิวเตอร์ มีทั้งที่สนับสนุนมาตรฐานแบบ ISA และ PCI สังเกตได้ว่า สล๊อตสำหรับ ISA จะมีสีดำและขนาดใหญ่กว่า PCI สล๊อตแบบ PCI จะมีสีขาวและมีขนาดเล็กกว่า
ที่มา* http://www.geocities.com/ResearchTriangle/2544/board1.htm
ถ้าถามว่าในคอมพิวเตอร์ อะไรสำคัญที่สุด คำตอบที่ออกมาเป็นเสียงเดียวกันก็คือ ซีพียู จริงมั้ยครับ รองลงมาก็คือหน่วยความจำหลัก จะมีสักกี่คนที่นึกถึงความสำคัญของเมนบอร์ดบ้าง สายใยสัมพันธ์แห่งครอบครัวที่ร้อยรัดอยู่ได้มิใช่เพราะมี "บ้าน" หรือครับ ลำพังซีพียูอย่างเดียวจะไปทำอะไรได้
แผงวงจรหลักหรือที่รู้จักกันในชื่อของเมนบอร์ด (Main Board, Mother Board) หรือบางคนอาจเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่ามาเธอร์บอร์ดก็ตามแต่สะดวก ไม่มีข้อห้าม แต่ทั้งหมดนั้นหมายถึงอุปกรณ์ชิ้นเดียวกัน ชิ้นไหนล่ะ ก็ชิ้นที่เป็นแผงรวมวงจรอิเลคทรอนิคส์อยู่ในตัวเคสของคอมพิวเตอร์นั่นอย่างไรครับ ถ้าในเครื่องคอมพิวเตอร์มีแผงวงจรอะไรต่อมิอะไรจิปาถะ สามสี่แผง แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าแผงไหนคือ แผงวงจรหลัก คำตอบก็คือให้ดูที่แผงที่ใหญ่ที่สุดนั่นแหละครับ เพราะในคอมพิวเตอร์ แผงวงจรอื่นๆจะใหญ่กว่าแผงวงจรหลักเป็นไม่มี คราวนี้ก็ลองเปิดฝาครอบกล่องคอมพิวเตอร์ออกมาดูสิครับ มองลงไปจะมองเห็นแผงวงจรใหญ่ๆ แผงหนึ่ง วางในลักษณะติดกับพื้นเคส มีสายอะไรระโยงระยาง แล้วก็บอร์ดเล็กบอร์ดน้อยเสียบค้างไว้ นั่นแหละครับ เมนบอร์ด
แผงวงจรหลักทำหน้าที่อะไร
แผงวงจรหลักก็เหมือนกับพื้นที่ชุมชน + เส้นทางการคมนาคม + ศูนย์ควบคุมการจราจร โดยมีกฎหมายว่าด้วยการประมวลผลของคอมพิวเตอร์เป็นตัวบทกฎหมายหลัก และถูกสร้างขึ้นด้วยทฤษฎีการทำงานของคอมพิวเตอร์
สถาปัตยกรรมของเมนบอร์ด
สถาปัตยกรรมของเมนบอร์ดในที่นี้หมายถึงบัส (BUS) เนื่องจากในคอมพิวเตอร์นั้น การประมวลผลต่างๆเกี่ยวพันกับการเดินทางการส่ง การโอนถ่ายข้อมูลเป็นสำคัญ ดังนั้น สิ่งที่สำคัญเป็นอันดับแรกก็คือ เมนบอร์ดนั้นจะต้องใช้สถาปัตยกรรมแบบไหน เมื่อกำหนดได้ว่าจะใช้แบบไหนแล้ว ก็เหมือนกับได้ "แผนการสร้างเมือง" มาโดยคร่าวๆ ต่อไปก็จะได้ออกแบบวางตำแหน่งที่ตั้งของอาคารสำนักงาน หรือในทางคอมพิวเตอร์ก็คือตำแหน่งที่ตั้งของซีพียู หน่วยความจำหลักนั่นเอง ปัจจุบันเป็นที่เห็นพ้องต้องกันว่า PCI BUS เป็นระบบบัสที่มีประสิทธิภาพสำหรับการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ในอดีตมี ISA BUS มี MCA BUS ปัจจุบัน ISA BUS ก็ยังคงมีใช้อยู่ในคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีอุปกรณ์ต่อพ่วงจำพวกการ์ดอีกหลายยี่ห้อยังต้องการใช้งานอยู่ แต่เท่าที่ดูมีแนวโน้มว่าความต้องการ ISA BUS ในแผงวงจรหลักจะลดน้อยลงเรื่อยๆ สังเกตได้จากเมนบอร์ดรุ่นใหม่ อาจจะมีสล๊อตสำหรับ PCI 5 ช่อง สำหรับ ISA เพียง 2 ช่อง
สำหรับระบบการควบคุมการแสดงผลของจอภาพ สมัยที่คอมพิวเตอร์ 80486 อาจจะเคยได้ยิน VL-BUS หรือ VESA Local BUS ซึ่งกำหนดให้ซีพียูและการแสดงผลของคอมพิวเตอร์มีบัสเฉพาะที่มีความกว้าง 32 บิต ต่อมาอินเทลเห็นว่า VL BUS ไม่สามารถสนับสนุนการทำงานของเพนเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้ออกแบบบัสแบบใหม่ที่ชื่อว่า PCI BUS ซึ่งไม่ได้ใช้เฉพาะการควบคุมการแสดงผลของจอภาพหรือสำหรับการ์ดวีจีเอเท่านั้น แต่ออกแบบให้ใช้กับอุปกรณ์ทั่วๆ ไปได้ด้วย และในตอนปลายของปี 2540 AGP BUS (Accelerator Graphic Port) ซึ่งออกแบบโดยอินเทลเช่นเดียวกัน ออกมาในลักษณะเดียวกับ VLBUS คือ เพื่อใช้งานกับการ์ดควบคุมการแสดงผลของคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ
ซ๊อคเก็ต (Socket) สำหรับซีพียู
เมื่อดูที่เมนบอร์ดสิ่งแรกที่จะพูดถึงก็คือ ซ็อคเก็ต (Socket) สำหรับใส่ซีพียู ซึ่งในเมนบอร์ด 486 และเพนเทียมเรียกว่า ZIF Socket ย่อมาจาก Zero Insert Force เวลาจะใส่ซีพียูลงบนซ๊อคเก็ตดังกล่าวก็เพียงแต่วางไปยังตำแหน่งของซ๊อคเก็ต ให้ขาของซีพียูตรงกับรูซ็อคเก็ตเท่านั้นเอง เรียกว่าแทบไม่ต้องออกแรงเลยทีเดียว เอาละ นี่คือหัวใจที่ถูกติดตั้งลงไปแล้ว ปกติเมนบอร์ดสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วๆ ไปจะมีซ๊อคเก็ตสำหรับใส่ซีพียูเพียงตัวเดียว เว้นเสียแต่มีบางเมนบอร์ดที่ใส่ได้มากกว่า 1 ตัว เช่น 2 ตัว และเมนบอร์ดสำหรับเซิร์ฟเวอร์บางรุ่นใช้ได้ถึง 4 ตัว ตัวของ Socket เองยังแบ่งออกไปเป็นหลายๆรุ่น เช่น Socket 3 Socket 5 Socket 7 โดยดูตามขนาดของขา (PIN) และใช้กับซีพียูต่างชนิดกัน และเมื่อมาถึงสมัยของซีพียูเพนเทียม II, Celeron อินเทลก็ออกแบบที่ใส่ซีพียูใหม่ โดยให้ชื่อว่า Slot 1 ซึ่งมีลักษณะเป็นช่องแนวยาวเหมือนช่องเสียบการ์ด PCI ตัว Slot 1 นั้นเวลาติดตั้งซีพียูต้องใช้กลไกช่วยยึดซีพียูด้วย ข้อดีของ Slot 1 คือ ไม่ต้องกังวลเรื่องการหักงอของขาซีพียู และการติดตั้งง่ายกว่า แต่ได้จดลิขสิทธิ์สำหรับ Slot 1 จึงทำให้มีเฉพาะซีพียูเท่านั้นที่สามารถใช้ Slot 1ได้
ไบออส (BIOS)
ไบออส (BIOS) ย่อมาจาก Basic Input Output System แต่ในเมนบอร์ดแล้วหมายถึง โปรแกรมที่บรรจุอยู่ใน ROM (Read only Memory) หน้าตาของ ROM นั้นจะมีลักษณะแบบตัวไอซี สี่เหลี่ยมจตุรัส/สี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดไม่ใหญ่โตนัก บนตัว ROM เองก็มักจะมีป้ายบอกว่านี่เป็นของ Awards, AMI, Phonix หรือของผู้ผลิตรายใด BIOS เป็นเสมือนศูนย์บัญชาการบนเมนบอร์ดที่จะสอดส่อง ดูแล ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ Input/Output ขั้นพื้นฐาน และแจ้งให้ทราบกรณีพบว่าเกิดความผิดพลาดขึ้นแล้ว สิ่งที่แจ้งให้ทราบนั้นเรียกกันว่า POST (Power On Self Test) หรือบางครั้งจะแจ้งให้ทราบโดยการส่งสัญญาณบี๊บทางลำโพงของคอมพิวเตอร์ก็มี
ไบออสนั้นถูกโปรแกรมให้มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะของเมนบอร์ด เช่น ใช้กับซีพียูรุ่นไหน ชิปเซ็ตรุ่นไหน หน่วยความจำแบบใด และใช้กับอุปกรณ์ต่อพ่วงพื้นฐาน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์ฟล๊อปปี้ พอร์ตขนาน พอร์ตอนุกรมแบบใด ดังนั้นจึงเป็นเหตุที่ว่า ทำไมต้องเซ็ตไบบอส (BIOS Setup) ก็เพื่อกำหนดให้ไบออสรู้จักอุปกรณ์ต่างๆที่มีในคอมพิวเตอร์และสามารถใช้งานได้นั่นเอง
ปัจจุบันเนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้ชิ้นส่วนภายในคอมพิวเตอร์เปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก และตัวไบบอสเองก็เป็นเพียงโปรแกรมเท่านั้น จึงอาจจะมีข้อบกพร่องได้ จึงมีการออกแบบไบออสที่สามารถนำมาใส่โปรแกรมลงไปทีหลังได้ เรียกว่าการแฟลช (Flash) ไบออส หรือการล้างแล้วใส่โปรแกรมลงไปใหม่
Socket หรือ Slot สำหรับหน่วยความจำหลัก
หลังจากนั้นมองถัดไป จะเห็นช่องสำหรับติดตั้งแผงหน่วยความจำหลัก (RAM) เรียกว่า BANK หรือ Slot กษณะช่องก็แตกต่างกันไปตามแต่ประเภทของหน่วยความจำหลักที่จะใช้ เช่น SIMM 32 ขา, SIMM 72 ขา, หรือ DIMM 168 ขา ปกติบนเมนบอร์ดมีช่องใส่ RAM เฉพาะแบบใดแบบหนึ่ง แต่ก็มีเมนบอร์ดส่วนหนึ่งที่มีช่องสำหรับใส่ RAM 2 ชนิดรวมกัน เช่น SIMM 32 + SIMM 72 หรือ SIMM 72 + DIMM 168 แต่ในการใช้งานจริงๆ แล้วอาจจะต้องเลือกใช้ RAM แบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากความไม่เข้ากันในเรื่องของแรงดันไฟฟ้า โดยมีประมาณ 2 - 6 ช่อง ถ้ามองให้ละเอียดอีกหน่อยจะเห็นว่าบริเวณระหว่างซีพียูและหน่วยความจำหลักนั้น มีเส้นลายทองแดงเรียงร้อยเป็นแนวระเบียบทีเดียว นั่นเป็นทางเดินของข้อมูล และเมนบอร์ดก็จะเต็มไปด้วยลายทองแดงแบบนี้ทั้งหมด
IDE / Floppy DISK Connector
หัวต่อฟล็อปปี้ดิสก์ หรือหัวต่อ (Connector) ประการนี้บางแห่งเรียกทับศัพท์ว่าคอนเนคเตอร์เลยก็มี หัวต่อนั้นมีไว้สำหรับต่ออุปกรณ์หลายประเภทด้วยกัน อย่าเพิ่งสับสนครับ วิธีการที่จะจำได้อย่างแม่นยำว่าหัวต่ออะไรใช้สำหรับอะไรแล้ว ให้นับจำนวนขา (PIN) ของ Connector เป็นสำคัญ ถ้านับได้ครบ 40 ขา ที่จริงไม่ต้องนับหรอกครับ สังเกตดูว่าเป็นคอนเนคเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในเมนบอร์ด จะมี 1-2 อัน เรียกว่า IDE Connector ทั้งสองอันจะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน คือ ตัวหลักเรียก Primary Controller ตัวรองเรียก Secondary Controller ทั้งหมดนี้สำหรับต่ออุปกรณ์ที่เป็นไปตามมาตรฐาน IDE ได้แก่ฮาร์ดดิสก์และไดรฟ์ซีดีรอม ใกล้ๆกันจะมีคอนเนคเตอร์ขนาดเล็กลงไปแต่มี 40 ขาเหมือนกัน ก็เป็น Floppy Disk Connector เอาไว้สำหรับต่อกับไดรฟ์ฟล๊อปปี้ซึ่งมีอยู่เพียงหัวเดียว เมนบอร์ดรุ่นปัจจุบันจะมีคอนเนคเตอร์เหล่านี้อยู่บนบอร์ด ที่เรียกกันว่า On Board นั่นเอง แต่ถ้าเป็นเมนบอร์ดสมัยก่อนที่ออกแบบสำหรับซีพียู 80386 80486 จะมีแผงวงจรเล็กๆแยกออกต่างหาก สำหรับต่อฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์ฟล๊อปปี้ พอร์ตขนาน พอร์ตอนุกรม เรียกแผงวงจรนั้นว่า Multi I/O Board หรือแผงสำหรับอุปกรณ์ Input/Output นั่นเอง เป็นแผงเสียบลงบน Slot ISA 16 BIT
พอร์ต
พอร์ต เป็นคำทับศัพท์ในทางคอมพิวเตอร์ไปแล้ว เรียกกันจนเคยชิน พอร์ตขนาน พอร์ตอนุกรม ข้อเท็จจริงมาจาก ในเมนบอร์ดนั้นถูกสร้างด้วยสถาปัตยกรรมเรียกว่า BUS เป็นเมนบอร์ด BUS แบบไหน PCI /ISA BUS ก็คือ ช่องทางเดินของข้อมูล เพราะสัญญาณหรือข้อมูลจะวิ่งผ่านลายทองแดงตลอดเวลา แต่เมื่อไรก็ตามที่ข้อมูลเหล่านั้นวิ่งไปสุดถนน หรือสุดชายฝั่ง จะต้องมี "ท่า" เช่น "ท่ารถ" "ท่าเรือ" สำหรับขนส่งโดยอุปกรณ์ชนิดอื่นต่อไป เช่นไปที่ "Air Port" ท่าอากาศยานเพื่อส่งไปทางเครื่องบิน ในคอมพิวเตอร์ก็เช่นเดียวกัน ข้อมูลที่จะต้องถูกลำเลียงออกโดยเครื่องพิมพ์จะต้องถูกส่งไปที่ Parallel Port หรือ Printer Port หรือข้อมูลที่จะต้องถูกนำไปยังปลายทางโดยทางโมเด็มก็จะต้องถูกส่งไปที่ Communication Port (หรือเรียกกันว่า COM Port เรียกสั้น ความหมายที่แท้จริงก็คือ พอร์ตสำหรับสื่อสาร)
คอนเนคเตอร์สำหรับ LTP 1, COM 1 COM2, PS/2, Keyboard
ถัดมาตอนหลังของบอร์ด จะมองเห็นหัวต่ออีก 3- 4 หัวต่อ สำหรับพอร์ตขนาน LTP 1 ช่อง สำหรับพอร์ตอนุกรม COM1 COM2 อีก 2 ช่อง และสำหรับเมาส์แบบ PS/2 อีก 1 ช่อง นอกจากนี้ยังมีช่องสำหรับเสียบคีย์บอร์ดอีก 1 ช่อง ปกติถ้าเป็นเมนบอร์ดแบบ AT ละก็ จะต้องเอาสายแพที่มีพอร์ตมาต่อกับหัวต่อเหล่านี้ แต่ถ้าหากเป็นมนบอร์ดแบบ ATX ล่ะก็ ไม่ต้องต่อ เพราะพอร์ตจะถูกสร้างไว้บนเมนบอร์ดแล้ว เรียกว่า Built In ลงไปแล้ว
สล๊อตขยาย (Expansion Slot)
สืบเนื่องมากจากความต้องการของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ในยุค 486 และเพนเทียมต้นๆ มาตรฐานของคอมพิวเตอร์คือ เมนบอร์ด ซีพียู การ์ด I/O ฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์ฟล๊อปปี้ การ์ดแสดงผล ทำให้ผู้ผลิตเล็งเห็นว่าเพื่อลดต้นทุนการผลิต จึงออกแบบเมนบอร์ดที่มีสล๊อตขยาย เพื่อให้ผู้ใช้งานมีโอกาสที่จะเลือกอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์ของตนเองประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งคือ เพื่อเป็นการลดต้นทุนของคอมพิวเตอร์ทั้งชุดลงไป สล๊อตขยายจึงได้ถูกออกแบบเพื่อรองรับวัตถุประสงค์ดังกล่าว หน้าตาของ Slot ขยายจะมีลักษณะเป็นช่องเสียบ สำหรับเสียบอุปกรณ์ ซึ่งเรียกว่า Add on Card หรือการ์ด หรือที่รู้จักกันในชื่อของ Daughter Board หรือบอร์ดลูกนั่นเอง ปัจจุบันสล๊อตขยายทางคอมพิวเตอร์ มีทั้งที่สนับสนุนมาตรฐานแบบ ISA และ PCI สังเกตได้ว่า สล๊อตสำหรับ ISA จะมีสีดำและขนาดใหญ่กว่า PCI สล๊อตแบบ PCI จะมีสีขาวและมีขนาดเล็กกว่า
ที่มา* http://www.geocities.com/ResearchTriangle/2544/board1.htm
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)