สเปกคอมพิวเตอร์
CORE2 DUO E6750
ASUS P5KR RAM KINGSTON DDR2-800 1Gx2
PCI-E MSI 8800GT oc
DVDRW LITE-ON
FLOPPLY DISK SUMSUNG
CASE DELUX
PSU ENERMAX 460w
HDD SEAGATE 320GB SATA-II 16MB
LCD 19 LG FLATRON L194WT
การเลือกซื้ออุปกรณ์
การเลือกซื้อซีพียู
การเลือกซีพียูมีขั้นตอนง่ายๆในการพิจารณาคือ “ประสิทธิภาพที่คุ้มค่าต่อการใช้งานของคุณ” กล่าวคือ การจะเลือกซีพียูนั้นให้มองที่การใช้งานประจำวันของคุณเป็นหลัก
ผู้ใช้มือใหม่ เน้นราคาประหยัด ในกลุ่มของผู้ที่เริ่มต้นใช้งานคอมพิวเตอร์และต้องการความประหยัด รวมถึงการใช้งานพื้นฐานทั่วไป ตั้งแต่ซอฟแวร์สำนักงานสเปรดซีต ดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเทอร์เน็ต ที่ไม่จำเป็นต้องใช้การประมวลผลซับซ้อน และส่วนใหญ่จะประกอบเป็นพีซีในราคาประมาณ 10,000-15,000 บาท โดยซีพียูในกลุ่มดังกล่าวนี้ มีหลายรุ่นด้วยกัน ได้แก่ Celeron D/ Celeron –L/Pentium 4 จากค่าย Intel และ Sempron64/Athlon64จากทาง AMD ด้วยสนนราคาตั้งแต่ 1,000-2,500 บาท แต่ในกรณีที่มีงบประมาณสูงขึ้น Pentium Dual Core Athlon 64X2ก็นับเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ามากทีเดียวในขณะนี้
การเลือกเมนบอร์ด
ปัจจุบันในตลาดมีเมนบอร์ดให้เลือกอยู่หลากรุ่นหลายยี่ห้อ แม้ในซีรีส์ที่เป็นชิปเซตเดียวกัน ยังถูกจำแนกออกเป็นรุ่นต่างๆมากมายโดยมีฟีเจอร์หลักที่ไม่ต่างกันมากนัก แต่ด้วยการออกแบบลูกเล่นต่างๆประกอบเข้าไป เช่นชุดระบายความร้อนคุณภาพของชุดคาปาซิเตอร์ดีไซน์ ไบออส และคุณภาพ จึงกลายเป็นจุดขายที่แต่ละค่ายนำมาเสนอ ดังนั้นการเลือกใช้ต้องพิจารณาจากรูปแบบ ฟังก์ชันการใช้งานรวมถึงคุณภาพและราคาที่เหมาะกับผู้ใช้เป็นหลัก โดยเฉพาะในเรื่องของซิปเซตที่มีอยู่มากมายให้เลือกใช้
การเลือก LCD Monitor
การเลือกใช้จอภาพต้องให้เหมาะสมกับงานและสุขภาพดวงตา ดังนั้นหลักสำคัญหรือปัจจัยที่จะต้องนำมาพิจารณาเลือกซื้อจอภาพให้เกิดความคุ้มค่าและเหมาะสมมีดังนี้
- ชนิดของจอภาพ
- ขนาดของจอภาพ
- ความละเอียดของการแสดงผล
- อัตราการรีเฟรช
- ระยะ Dot Pitch
- ความสว่างบนหน้าจอ
- อัตราส่วนของความคมชัดของภาพ
- ขอบเขตของมุมมองในการมองภาพ
การเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่สำคัญ ปัจจุบันความจุของฮาร์ดดิสก์มีความจุสูงขึ้น อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้น ควรจะเลือกซื้อที่คุณสมบัติต่างๆดังนี้
- ความจุข้อมูล
- ความเร็วรอบในการหมุน
- อินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์
- ขนาดของบัฟเฟอร์
- การรับประกัน
การเลือกซื้อตัวเครื่องหรือเคส
- เลือกเคสที่ภายในดูโปร่ง กว้าง ถ่ายเทอากาศได้ดี
- มีการออกแบบฝาเคสที่ดูแล้วสามารถเปิด/ปิด ได้ง่าย
- แท่นรองเมนบอร์ดภายในเคสควรจะถอดออกได้
- ช่องเสียบอุปกรณ์ต่างๆควรออกแบบมาดี
- ฝาเคสด้านหน้าอาจจะเปิด/ปิดได้
- มีพอร์ตต่างๆเพิ่มเติมมาให้ที่ด้านหน้าหรือด้านข้างของตัวเคส
- Power Supply ที่ติดตั้งมาด้วยควรมีกำลังไฟเพียงพอ
- ตัวเครื่องภายนอกอาจจะออกแบบให้มีที่จับเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย
- พยายามเลือกเคสที่ช้วัสดุที่ทำมาจากพลาสติก
การเลือกซื้อเพาเวอร์ซัพพลาย
ในอดีตเพาเวอร์ซัพพลาย มักเป็นสิ่งที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์มองข้ามอยู่เสมอ เนื่องจากคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการใช้พลังงานไฟมากมายเช่นในปัจจุบัน อีกทั้งเพาเวอร์ส่วนใหญ่ที่ติดตั้งมากับตัวเคส โดยเฉพาะกับคอมพ์สำเร็จรูป ก็สามารถรองรับได้เพียงพอ แต่ในวันนี้เฉพาะเมนบอร์ดและการ์ดจอด รุ่นกลางๆ ก็สามารถทำให้เพาเวอร์เดิมๆ สะดุดหรือเกิดอาการผิดปกติได้ง่ายๆ แม้ว่าเพาเวอร์ที่ใช้นั้นจะระบุกำลังไฟที่ 450Walt ก็ตาม ดังนั้นจึงต้องมาทำความเข้าใจกันใหม่กับการเลือกใช้เพาเวอร์ซัพพลายให้เหมาะสมและถูกวิธี เพื่อที่จะช่วยให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ราบรื่น รวมถึงมีเสถียรภาพอีกด้วย หลักพิจารณาในการเลือกซื้อหรือว่าได้เวลาเปลี่ยน PSU หรือยังนั้น มีหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น อาการเกิดบลูสกรีน (Blue-scree) การดับหรือรีสตาร์ตโดยไม่ทราบสาเหตุ รวมถึงการไม่สามารถเข้าระบบได้เลย ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งจ่ายไฟไม่พอหรือเริ่มมีการลัดวงจรนั่นเอง ปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่บอกถึงอันตรายอันอาจเกิดกับอุปกรณ์อื่นๆ ในคอมพ์ด้วยดังนั้นอย่าได้นิ่งนอนใจในการแก้ไขปัญหา ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยน PSU จะมีการเลือกอย่างไร
เลือกแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือสูง ผู้ผลิตที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่ ก็จะใช้วัสดุคุณภาพดีและมีความประณีต ส่งผลต่อความปลอดภัยและความทนทานในการใช้งานที่นานขึ้น ผู้ใช้อาจเลือกตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์หรือร้านค้าที่จำหน่าย นอกจากนี้อาจเข้าไปสอบถามหรือหาข้อมูลจากผู้ใช้เว็บไซต์ทดสอบ เว็บบอร์ดต่างๆอีกครั้งเพื่อความมั่นใจ
เลือกกำลังไฟที่เพียงพอต่อคอมพิวเตอร์ ดูจากฉลากด้านข้างตัวอุปกรณ์ซึ่ง PSU รุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะระบุมาอย่างชัดเจน ด้วยกำลังไฟที่จ่ายได้ต่ำสุด-สูงสุด รวมถึงไฟเลี้ยงและค่าต้านทานที่เหมาะสมโดยที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 350-500 วัตต์ แต่ถ้าเป็นกลุ่มเกมเมอร์ก็จะสูงขึ้นไปอีกด้วยคือ 500-750 วัตต์ ยิ่งถ้าเป็นเกมการ์ดแบบคู่ไม่ว่าจะเป็น SLI หรือ CrossFire ซึ่งการ์ดแต่ละตัวต้องใช้ไฟเลี้ยงเพิ่มเติมด้วยแล้ว อาจต้องก้าวไปถึง 700 วัตต์ เลยทีเดียว มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ต่อพ่วงภายในด้วยเช่นกัน หากสงสัยวาคอมพิวเตอร์ของตนที่ใช้อยู่หรือกำลังจะซื้อ ต้องใช้ PSU ขนาดไหน สามารถเข้าไปคำนวณการใช้พลังงานของเครื่อง เพื่อใช้ในการเลือกซื้อเพาเวอร์ซัพพลายได้ง่ายๆ
การเลือกซื้อกราฟิกการ์ด
อินเทอร์เฟช แน่นอนว่าก่อนซื้อก็คงต้องตรวจสอบดูก่อนว่าใช้เมนบอร์ดที่มีสล็อตแบบใด ปัจจุบันมีทั้งแบบ PCI-Express 16x ที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป และอีกแบบหนึ่งคือสล็อต AGP8x ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บนเมนบอร์ดรุ่นเก่าที่ไม่ใช่ Socket 775 และ 939/ AM2 ซึ่งผู้ใช้ควรต้องพิจารณาก่อนการเลือกซื้อด้วยนอกจากนี้ในเรื่องการเลือกให้สังเกตด้วยว่าการ์ดที่ซื้อมามีช่องต่อเพาเวอร์หรือไม่ เพราะการ์ดรุ่นใหม่หลายรุ่น มักต้องใช้ไฟเพิ่มจากปกติ ซึ่งอาจจะเป็น Molex-4-pins หรือ 6-pins
การระบายความร้อน ชุดระบายความร้อน ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับกราฟิกการ์ด ไม่ต่างไปจากฮีตซิงก์ของซีพียู เนื่องจาก GPU เอง ก็มีคาปาซิเตอร์จำนวนนับล้านไม่ต่างไปจากซีพียู ดังนั้นจึงเกิดความร้อนที่สูง การระบายความร้อนที่ดีจะช่วยให้การ์ดทำงานได้ยาวนานขึ้น โดยการระบายความร้อนของการ์ดจะมีให้เลือกทั้งแบบ ฮีตชิงก์พัดลมและฮีตไปป์ การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม หากอุณหภูมิในห้องสูง การเลือกฮีตซิงก์พัดลม ดูจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม เนื่องจากมีการระบายความร้อนจากตัวฮีตซิงก์ได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็จะเกิดเสียงรบกวนอยู่บ้างแต่ถ้าในห้องมีการปรับอุณหภูมิ การใช้ฮีตไปป์ก็จะช่วยลดการใช้พัดลมลง เสียงรบกวนก็น้อยลงเช่นกัน แต่ทั้งสองรูปแบบ ก็คงต้องอาศัยการจัดทิศทางลมภายในเคสที่ดีด้วย
Hyper Memory/ Turbo Cache สิ่งหนึ่งที่เราจะพบเห็นได้บ่อยๆ บนกราฟิกการ์ดราคาประหยัดก็คือ การมีหน่วยความจำเพียง 64MB หรือ 256MB เท่านั้น ซึ่งบางครั้งการใช้งานร่วมกับเกมหรือโปรแกรมสามมิติแทบเป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้นแล้วผู้ผลิต จึงได้ใส่เทคโนโลยีดังกล่าวมาให้ ด้วยฟีเจอร์ในการเพิ่มขนาดบัฟเฟอร์ให้มีมากขึ้น โดยการนำหน่วยความจำหลักหรือแรมมาใช้ร่วมได้ ซึ่งจะระบุฟีเจอร์และขนาดของแรมที่จะแชร์ได้ไว้ที่หน้ากล่องโดยของทาง ATI จะเรียกว่า Hyper Memory ส่วนทาง nVIDIA ใช้ชื่อว่า TurboCache นั่นเอง ทั้งสองรูปแบบนี้ จะทำหน้าที่คล้ายคลึงกัน และจะแชร์หน่วยความจำได้ตั้งแต่ 256MB/512MB ไปจนถึง 1GB ขึ้นอยู่กับการติดตั้งหน่วยความจำหลักในเครื่องไว้มากน้อยเพียงใด การ์ดในรูปแบบดังกล่าวนี้ จัดอยู่ในกลุ่มราคาประหยัด ที่ไม่ได้เน้นการเล่นเกมมากนัก ด้วยราคาที่ถูกมากๆ จึงทำให้ได้รับความสนใจอยู่มากทีเดียว
การเลือกซื้อออปติคอลไดรฟ์
การเลือกออปติคอลไดรฟ์ ในปัจจุบันตัดสินใจค่อนข้างง่ายทีเดียว เนื่องจากไดรฟ์แบบ DVD?RW นั้นราคาถูกมาก เริ่มต้นเพียง 1,000 บาท เท่านั้นสำหรับ Intemal ซึ่งราคาจะแพงกว่า DVD และ CD-RW อยู่เพียง 200-300 บาทเท่านั้น แต่สามารถเขียนและอ่านแผ่นได้ทั้ง DVD และCD ดังนั้นการลงทุนกับ DVD?RW จึงดูจะเป็นทางเลือกที่คุ้มค่า แต่จะเลือกอย่างไรดีในเมื่อมีหลายรุ่นหลากยี่ห้อให้เลือกใช้
DVD+R/ DVD-R/ DVD-RAM แตกต่างกันอย่างไรแน่นอนว่า DVD Writer เครื่องหนึ่ง ไม่ได้มีฟังก์ชันเพียง DVD-R หรือ RW เท่านั้น แต่ยังมีฟังก์ชันอื่นๆ มากมายมาอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็น DVD-R/+R, DVD?RW, Dual Layer หรือ Double side แล้วสิ่งเหล่านี้คืออะไร ใช้งานแบบไหน ลองมาดูกัน DVD-R : เป็นรูปแบบพื้นฐานที่ใช้กันอยู่ทั่วไป การทำงานง่ายๆคือ การเขียนข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว ไม่สามารถเขียนซ้ำได้DVD+R : มีความสามารถเหมือนกับ-R แต่มีความพิเศษที่สามารถเขียนข้อมูลเพิ่มเติมลงไปได้ แต่เขียนซ้ำและลบข้อมูลไม่ได้DVD RW : เป็นแบบที่ค่อนข้างได้รับความนิยม ด้วยจุดเด่นที่ รองรับการเขียนและข้อมูลใหม่ได้หลายครั้ง แต่เปลี่ยนข้อมูลทั้งแผ่น DVD-RAM : เป็นรูปแบบการเขียนข้อมูลแบบพิเศษ ด้วยการเขียนข้อมูลลงแผ่นได้เฉพาะส่วนและเลือกลบข้อมูลจากส่วนใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงทั้งแผ่นแบบ DVD-RW แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากแผ่นมีราคาสูงและหายากDVD Dual Layer : เดิมรูปแบบของแผ่นที่ใช้กันอยู่จะเป็นแบบ Single Layer คือ การเขียนข้อมูลแบบชั้นเดียว แต่สำหรับแผ่น Dual Layer จะมีการเคลือบสารเคมีสองชั้นจึงทำให้เขียนข้อมูลได้ 2 ระดับ เก็บข้อมูลได้มากกว่าปกติเท่าตัวหรือประมาณ 9GB นั้นเองDVD Double side : การเก็บข้อมูลจะคล้ายกับ Dual Layer ซึ่งได้ความจุที่ 9GB เช่นเดียวกัน เพียงแต่การเก็บข้อมูลจะเป็นแบบหน้าและหลัง ต้องมีการกลับแผ่นในการใช้งาน
การเลือกซื้อแรม (RAM) หรือหน่วยความจำหลัก
การเลือกซื้อแรมปัจจุบัน นอกจากจะต้องดูกันที่ความจุความเร็วแล้ว หลายคนยังมองไปที่สัปดาห์ที่ผลิต รวมถึงเม็ดแรมที่นำมาใช้อีกด้วย โดยเฉพาะกับบรรดาเซียนคอมพ์ทั้งหลาย ที่แทบจะเอากล้องส่งอพระมาส่องกันเลยทีเดียว แต่สิ่งเหล่านี้ คงต้องยกให้กับเหล่ามืออาชีพกันไป ส่วนผู้ที่กำลังมองหาไว้ใช้งานโดยทั่วไปแล้ว สำหรับการเลือกแรมมีหลักง่ายๆ เพียงไม่กี่ข้อ ไม่ยุ่งยาก เพียงแต่อาจใส่ใจอยู่บ้าง เริ่มตั้งแต่
ดูจากเมนบอร์ดที่ใช้อยู่ ปัจจุบันชัดเจนว่าแรมที่มีอยู่ในตลาดและใช้กันอยู่โดยทั่วไป มีอยู่ 3 รูปแบบคือ DDR, DDR2 และ DDR3 โดยที่แต่ละแบบก็ใช้งานกับแพลตฟอร์มต่างกันออกไป กล่าวคือ DDR (184-pins) จะทำงานร่วมกับชิปเซตรุ่นเก่าของทั้ง Intel ตระกูล 845, 865 และใน VIA P4M บางรุ่น สำหรับ AMD ก็มีตั้งแต่ nForce2, nForce3, GeForce 6100/6150 แต่เวลานี้ก็แทบจะลาจากตลาดไปอย่างถาวร ส่วนใหญ่จะถูกเปลี่ยนสำหรับการอัพเกรด ประกอบด้วย DDR400/333/266 (PC3200/2700/2100) ส่วน DDR2 (240-pins) นับว่ายังคงเป็นแรมยอดนิยม ที่ยืนหยัดอยู่ในตลาดได้อีกนานพอสมควร ใช้กับชิปเซตทั้งหลายที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันได้ ไม่ว่าจะเป็นค่ายอินเทล 915, 925, 945, 955, 965, 975, G31, G33, P35, X38 และ X48 รวมไปถึง 680i/ 780i ส่วนทาง AMD ก็ใช้ได้กับ nForce4, nForce 5xx Series, 690G, nForce 750/770/790FX Series ซึ่งก็มีให้เลือกตั้งแต่ DDR2 800/667/533 (PC6400/5300/4200) นับเป็นแรมที่มีราคาค่อนข้างถูก มีให้เลือกตั้งแต่แถวละ 512MB, 1GB และ 2GBล่าสุดกับ DDR3 (240-pins) ที่ยังถือว่าเป็นแรมที่มีประสิทธิภาพสูงพอสมควร รวมถึงราคาจำหน่ายด้วยเช่นกัน เนื่องจากยังไม่มีการสนับสนุนอย่างเต็มที่เท่าใดนัก ส่วนชิปเซตจากอินเทลจะมีเพียง X48 ที่รองรับการทำงานอย่างเต็มตัว แต่ผู้ผลิตก็ยังมีในแบบ DDR2 มาให้ใช้ด้วย ส่วนทาง AMDจะมีในรุ่น AMD 790i ที่เป็นรุ่นใหม่ล่าสุดเท่านั้น ที่ออกมารองรับการทำงานกับ DDR3 โดยจะมีความเร็วที่ DDR3 1333 และ DDR3 1066 (PC10600/8500)
เลือกที่ความจุและขนาดที่ต้องการ ให้ดูจากปริมาณการทำงานและแอพพลิเคชันที่ใช้เป็นหลัก หากการใช้งานทั่วไปร่วมกับวินโดวส์เอ็กซ์พีแล้ว ความจุที่512MB ก็น่าจะเพียงพอต่อการใช้งาน แต่ถ้ามีความต้องการในเรื่องของเกมสามมิติและโปรแกรมตกแต่งภาพแล้ว ความจุที่มากกว่า 1GB จะช่วยให้มีความลื่นไหลมากขึ้น ส่วนถ้าหากจำนำไปใช้กับงานระดับ Workstation ความจุที่ 2-4GB ก็ดูจะเป็นขนาดที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในช่วงที่แรม DDR2 ราคาถูกเช่นนี้ การอัพเกรดความจุให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะหาซื้อได้ ก็เป็นเรื่องที่ดีไม่น้อย
เลือกแบบ Single ความจุสูงแถวเดียวหรือ Dual ความจุเท่ากัน 2 แถวดีในความเป็นจริงทั้ง 2 แบบก็ถือว่าถูกเหมือนกัน แต่อาจต้องมาคิดคำนวณ ระหว่างราคากับประสิทธิภาพ ในปัจจุบันนี้ ต้องไม่ลืมว่าการทำงานในโหมด Dual Channel ที่เป็นแบบแรมสองแถวคู่ มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมไม่น้อยกว่า 20% แต่นั่นหมายถึงมีอัตราค่าใช้จ่ายสูงกว่าการซื้อแรมแบบแถวเดียว ในความจุเท่ากัน อย่างเช่นกรณี Corsair VS 512MB x 2 (Kit) ราคา 460 บาท แต่ถ้า 1 GB แถวละ 730 บาท (เดือนมกราคม) แต่แบนด์วิดธ์ที่ได้จะต่างกัน การใช้แถวคู่ก็แน่นอนว่าจะต้องเสียสล็อตเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่อง การอัพเกรดก็น้อยลง ดังนั้นแล้วก็ควรจะพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ
องค์ประกอบอื่นๆ ในส่วนขององค์ประกอบพิเศษก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการระบายความร้อน ซึ่งหลายค่ายนิยมติด Heat Spreader ที่ช่วยในการระบายความร้อนมาให้ ซึ่งดูเหมือนว่าจะเพิ่มมูลค่าได้ไม่น้อยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามการติดฮีตชิงก์ให้กับแรมนี้ควรจะต้องมั่นใจว่ามีการระบายความร้อนที่ดีด้วยเช่นกัน เช่นการปรับทิศทางลมให้เหมาะสม ไม่เช่นนั้นอาจเกิดภาวะสะสมความร้อน จนเกิดอันตรายต่อแรมได้เช่นกัน แต่ปัจจุบันก็มีพัดลมสำหรับสล็อตแรมมาจำหน่ายเช่นกัน
ที่มา หนังสือช่างคอมฯ 2009,http://www.bcoms.net/buycomputer/
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น